บาร์บี้
แนว Adventure, Comedy, Fantasy, Romance
เข้าฉาย 20 กรกฎาคม 2566
ผู้กำกับ Greta Gerwig
นักแสดง Margot RobbieAriana GreenblattKingsley Ben-Adir
เรื่องย่อ
การใช้ชีวิตอยู่ในเมืองบาร์บี้เหมือนการได้อยู่ในสถานที่สมบูรณ์แบบ เว้นแต่เราจะพบว่าชีวิตไร้ความหมายหรือเป็นเหมือนเค็น
ภาพยนตร์จากผู้เขียนบทฯ / ผู้กำกับฯ ที่เคยชิงรางวัล Oscar เกรต้า เกอร์วิก (“Little Women,” “Lady Bird”) เรื่อง “Barbie” นำแสดงโดยมาร์โกต์ ร็อบบี้ ผู้เข้าชิงรางวัล Oscar (“Bombshell,” “I, Tonya”) และไรอัน กอสลิง (“La La Land,” “Half Nelson”) ในบทบาร์บี้และเค็น พร้อมด้วยอเมริกา เฟอร์เรรา (“End of Watch,” ภาพยนตร์ชุด “How to Train Your Dragon”), เคท แมคคินนอน (“Bombshell,” “Yesterday”), ไมเคิล เซร่า (“Scott Pilgrim vs. the World,” “Juno”), อาเรียน่า กรีนแบล็ตต์ (“Avengers: Infinity War,” “65”), อิซซ่า เร (“The Photograph,” “Insecure”), รีอา เพิร์ลแมน (“I’ll See You in My Dreams,” “Matilda”) และวิล เฟอร์เรล (ภาพยนตร์ชุด “Anchorman”, “Talladega Nights”) ภาพยนตร์ยังนำแสดงโดย อานา ครูซ เคย์น (“Little Women”), เอ็มม่า แม็คคีย์ (“Emily,” “Sex Education”), ฮาริ เนฟ (“Assassination Nation,” “Transparent”), อเล็กซานดรา ชิปป์ (ภาพยนตร์ชุด “X-Men”), คิงส์ลีย์ เบ็น-อาเดอร์ (“One Night in Miami,” “Peaky Blinders”), ไซมุ หลิว (“Shang-Chi and the Legend of the Ten Rings”), เอ็นคูติ กัตวา (“Sex Education”), สก็อตต์ อีวานส์ (“Grace and Frankie”), เจมี่ เดเมตรูอู (“Cruella”), คอนนอร์ สวินเดลส์ (“Sex Education,” “Emma.”), ชารอน รูนีย์ (“Dumbo,” “Jerk”), นิโคลา คูกแลน (“Bridgerton,” “Derry Girls”), ริตู อาร์ยา (“The Umbrella Academy”), นักร้อง/นักแต่งเพลงเจ้าของรางวัล Grammy Award ดูอา ลิปา และเจ้าของรางวัล Oscar เฮเล็น เมอร์เร็น (“The Queen”)
เกอร์วิกกำกับฯ “Barbie” จากบทภาพยนตร์ของเกอร์วิกและโนอาห์ บวมแบช ผู้เข้าชิงรางวัล Oscar (“Marriage Story,” “The Squid and the Whale”) สร้างอิงจาก Barbie ของแมทเทล ผู้อำนวยการสร้างฯ ได้แก่ เดวิด เฮย์แมน ผู้เข้าชิงรางวัล Oscar ((“Once Upon a Time…in Hollywood,” “Marriage Story,” “Gravity”) ร็อบบี้ Robbie (“Birds of Prey,” “Promising Young Woman,” “I, Tonya”) and Oscar nominee Robbie Brenner (“Dallas Buyers Club”), อำนวยการสร้างบริหารฯ โดย เกอร์วิก, บวมแบช, ยอน ครีซ, ริชาร์ด ดิคสัน, ไมเคิล ชาร์พ, โฮเซย์ แมคนามาระ, คอร์ทเนย์ วาเลนติ, โทบี้ เอ็มเมอริช และ เคท อดัมส์
ทีมงานฝ่ายสร้างสรรค์เบื้องหลังของเกอร์วิก ได้แก่ ผู้กำกับภาพเข้าชิงรางวัล Oscar โรดริโก ปริเอโต (“The Irishman,” “Silence,” “Brokeback Mountain”) ผู้ออกแบบฉากเข้าชิงรางวัล Oscar ซาราห์ กรีนวูด (“Beauty and the Beast,” “Anna Karenina”) ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายเจ้าของรางวัล Oscar แจคเกอลีน เดอร์แรน (“Little Women,” “Anna Karenina”) ผู้ลำดับภาพ นิค ฮอย (“Little Women,” “Lady Bird”) ผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ เกล็น แพรตต์ (“Paddington 2,” “Beauty and the Beast”) และผู้ควบคุมเสียงดนตรี จอร์จ ดราคูเลียส (“White Noise,” “Marriage Story”) เพลงประกอบภาพยนตร์โดย มาร์ค รอนสัน เจ้าของรางวัล Oscar และแอนดรูว์ ไวแอตต์ (“A Star Is Born”) ผู้มีส่วนร่วมในเพลงประกอบภาพยนตร์หลายเรื่องมาแล้ว รวมถึงการสร้างความประทับใจให้ศิลปินทีได้รับความนิยมมากมาย เช่น Lizzo, Dua Lipa, Nicki Minaj & Ice Spice ร่วมกับ Aqua, Charli XCX, KAROL G feat. Aldo Ranks, Tame Impala, Dominic Fike, HAIM, The Kid LAROI, Khalid, PinkPantheress, GAYLE, Ava Max, FIFTY FIFTY และอีกมากมาย
วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส นำเสนอภาพยนตร์จาก a Heyday Films Production, a LuckyChap Entertainment Production, a Mattel Production เรื่อง “Barbie” ภาพยนตร์จัดจำหน่ายทั่วโลกโดยวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส ฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศ 20 กรกฎาคม 2023 และเริ่มฉายต่างประเทศ 19 กรกฎาคม 2023
เกรต้า เกอร์วิก (ผู้กำกับฯ /ผู้เขียนบทฯ / ผู้อำนวยการสร้างบริหารฯ)
การสร้าง “Barbie”…
“บาร์บี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เป็นที่รักและอยู่ในประวัติศาสตร์มายาวนานกว่า 60 ปี นับเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นสำหรับฉันในฐานะผู้เขียนบทฯ และผู้กำกับฯ ฉันมองหาความท้าทายที่สร้างความสนุกสนานมาตลอด อย่างผลงาน Little Women บาร์บี้คือสิ่งที่พวกเรารู้จักกันดี สำหรับฉันรู้สึกเหมือนเป็นตัวละครหนึ่งที่มีเรื่องราวให้ถ่ายทอด เป็นตัวละครที่ฉันเห็นความแปลกใหม่ในการพาเธอเข้าสู่โลกที่แปลกใหม่ สดใส และทันสมัย”
การทำความเข้าใจบาร์บี้…
“ไอเดียเรื่องความหลากหลายของบาร์บี้และเคน เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้พบกับแมทเทล ตอนที่ฉันเริ่มคุยเรื่องความแตกต่างของตัวละคร พวกเขาพูดว่า ‘ไม่นะ เราไม่มีตัวละครที่แตกต่างกัน สาวๆ ทั้งหมดนี้คือบาร์บี้’ ฉันเลยถามว่างั้นถ้าสาวๆ ทั้งหมดนี้คือบาร์บี้ แปลว่าบาร์บี้ก็คือสาวๆ ทุกคนนี้สิ พวกเขาตอบ ‘ใช่’”
เรื่องราวของบาร์บี้ในอดีต…
“ฉันโตมาพร้อมกับบาร์บี้ค่ะ แต่ต้องรอเพื่อนบ้านตลอด’ เด็กๆ ต่างมีบาร์บี้ของตัวเอง และพวกเขาก็จะเอาบาร์บี้มาให้ฉันเล่นด้วย นั่นคือสิ่งสำคัญที่ฉันเฝ้ารอตลอด ฉันมีความทรงจำเกี่ยวกับบาร์บี้ที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยความสดใส และเป็นสิ่งที่มีความหมายมากค่ะ”
มาร์โกต์ ร็อบบี้ ในฐานะผู้อำนวยการสร้างฯ…
“‘บาร์บี้มาถึงมือฉันผ่านมาร์โกต์ ร็อบบี้ค่ะ เพราะเธอคือคนที่ได้สิทธิ์และส่งต่อให้กับวอร์เนอร์ บราเดอร์ส ซึ่งเป็นผู้จัดการโปรเจ็กต์ทั้งหมด เราได้พบกันและฉันเองก็เป็นแฟนตัวยงของเธอในฐานะนักแสดง เราได้คุยกันก็ได้เห็นความน่าทึ่งของเธอในฐานะของผู้สร้างฯ ด้วย เธอฉลาดมากและมีส่วนร่วมอย่างเต็มตัว เรียกได้ว่าน่าสนใจจริงๆ”
มาร์โกต์ ร็อบบี้ ในบทบาร์บี้…
“มาร์โกต์มีความเป็นบาร์บี้อย่างที่เราคิดภาพไว้ เหมือนที่เธอพูดไว้ในหนัง ‘ฉันคือบาร์บี้ในแบบที่ทุกคนคิดถึงบาร์บี้นั่นแหละ’ เวลาเรานึกถึงสาวแสนสวย น่ารักสดใส ผมสีบลอนด์ที่เคยผ่านตามาก็จะนึกถึงมาร์โกต์ แต่สิ่งที่ฉันอยากทำที่สุดคือให้เธอดูมีความตลกแหวกแนว เธอคือคนที่คุณจะได้ออกไปผจญภัยด้วยในหนัง และเนื่องจากเธอถ่ายทอดทุกอย่างได้เป็นธรรมชาติ เข้าใจง่าย และสะท้อนอารมณ์ได้ดีเวลาเจอเรื่องตลกและสนุกสนาน คุณจะไม่รู้สึกว่าขาดชีวิตชีวาไปเลย”
ไรอัน กอสลิง…
“เราเขียนบทนี้ขึ้นมาสำหรับไรอัน กอสลิงเป็นพิเศษ แม้ว่าเขาจะรับบทดราม่าได้เกง ฉันรู้ว่าเขาเป็นคนตลกมากอย่างที่เห็นจากการแสดงของเขาใน ‘Saturday Night Live’ จึงไม่มีตัวเลือกอื่นนอกจากไรอันเลยค่ะ”
พูดถึงเรื่องสีชมพู…
“สิ่งแรกและสิ่งสำคัญคือฉันอยากให้บาร์บี้แลนด์เป็นดินแดนแห่งความสุข เหมือนตอนที่บาร์บี้อยู่ในจินตนาการวัยเด็กของเรา ช่วงวันแรกที่ได้พบกับ [ผู้ออกแบบฉาก] ซาราห์ กรีดวูด และทีมงานฝ่ายศิลป์ เรามองหาโทนสีชมพูทีต่างกันเพื่อดูว่าพวกเขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ตอนเป็นเด็กฉันชอบสีชมพูที่สว่างสดใส แต่บาร์บี้แลนด์ก็จะเต็มไปด้วยสีสันที่สดใส สิ่งสำคัญคือต้องนึกภาพว่าสีชมพูสว่างเหล่านั้นจะต้องอยู่บนฉากของเรา มีสีชมพูพาสเทล และแน่นอนว่าจะต้องมีสีชมพูทุกโทนมาผสมระหว่างนั้นด้วย”
ท้าทายเรื่องแรงโน้มถ่วง…
“ในบาร์บี้แลนด์ไม่มีพื้นที่สำหรับกฎของนิวตัน ไมมีลม ไม่มีดวงอาทิตย์ ไม่มีแรงโน้มถ่วง และไม่มีน้ำ แต่ผู้สร้างภาพยนตร์อยู่ในโลกที่มีเรื่องฟิสิกส์ เมื่อต้องสร้างความสมจริงให้บาร์บี้แลนด์ จึงมีการสร้างกฎในบาร์บี้แลนด์และกฎสำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์ จนได้ผลลัพธ์จากการผสมผสานกันของทั้ง 2 สิ่ง ฉันหลงรักละครเวทีมิวสิเคิลยุค 1950 เป็นดินแดนที่สร้างขึ้นมาอย่างน่าทึ่ง และเพราะบาร์บี้ผลิตขึ้นเมื่อปี 1959 ทำให้รู้สึกว่าเรานำมาใช้อ้างอิงได้ทุกอย่างและไม่ต้องยกความดีความชอบให้กับอะไร ฉันอยากให้ทุกคนรู้สึกว่าสามารถสัมผัสในจอภาพยนตร์และทุกอย่างได้ เพราะนั่นคือข้อดีของตุ๊กตาและของเล่น ฉันจำตอนที่ยืนในร้าน Toys ‘R Us และดูบาร์บี้ ข้าวของเครื่องใช้พลาสติกของพวกเธอได้ ฉันรู้สึกอยากเข้าไปอยู่ในนั้นและหยิบจับทุกอย่างเลยค่ะ!”
เพลงประกอบภาพยนตร์และเสียงดนตรี…
“ในภาพยนตร์มีเสียงเพลงเยอะมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญกับฉันสุดๆ บาร์บี้มีการมองโลกในแง่ดีสูงมาก ตอนที่เราเขียนบทฯ ต้องถ่ายทอดความสนุกสนานกับบรรยากาศที่ ‘ไม่มีใครอยากลุกขึ้นมาเต้น?’ ออกมาให้ได้ มาร์ค [รอนสัน] ตั้งใจหาศิลปินที่จะมาสร้างความมหัศจรรย์ให้บทเพลง ทั้ง Dua Lipa, Lizzo, Nicki Minaj, Karol G… อีกหลายคนเลย! นับว่าโชคดีมากที่ได้ร่วมงานกับศิลปินทุกคน มาร์คและแอนดรูว์ ไวแอตต์ ผู้ร่วมงานของเขาได้สร้างบรรยากาศความวุ่นวายของเค็นที่ไรอันเป็นคนร้องออกมาได้อย่างอลังการ เรามีเพลงช้าที่ทำให้ฉันร้องไห้ได้ตอนที่ฟังเพลง มาร์คและแอนดรูว์แต่งเพลงและทำนองในอีกหลายฉากเลยค่ะ”
มาร์โกต์ ร็อบบี้ (“บาร์บี้” / ผู้อำนวยการสร้างฯ)
สำหรับการสร้างฯ “Barbie”…
“บาร์บี้คือแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับระดับโลก สร้างความผูกพันให้กับผู้คน การสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับบาร์บี้ขึ้นมานับเป็นโอกาสสุดพิเศษ อย่างหนึ่งเราคิดว่าทำให้เราสร้างความพิเศษขึ้นมาได้อย่างที่ไม่คาดคิด สร้างความตื่นเต้นและพิถีพิถัน อย่างที่เกรต้าบอกไว้ว่ามันยังน่ากลัวด้วย! เรารู้ว่ามันเต็มไปด้วยความรับผิดชอบ ในฐานะของผู้ชมคนหนึ่งเข้าใจดีว่าทุกคนจะคิดและรู้สึกอย่างไรกับบาร์บี้ มันจะดีหรือไม่ดีกันแน่ เรียกได้ว่าเป็นความท้าทายครั้งใหญ่แต่เราก็พร้อมจะเผชิญหน้ากับมันค่ะ”
พูดถึงเกรต้า เกอร์วิก…
“เกรต้าเป็นผู้กำกับฯ ผู้เขียนบทฯ ที่น่าทึ่งมากค่ะ เธอมีส่วนร่วมเต็มที่เพื่อจะสร้างยุคของพวกเราออกมา และความมหัศจรรย์ของเธอคือการเชื่อมโยงระหว่างโลกการสร้างภาพยนตร์แบบสมัยก่อนกับความเข้าใจ ความหลงใหลที่เธอมีเกี่ยวกับภาพยนตร์นับร้อยปี ผสมกับมุมมองที่ทันสมัยของมนุษย์โลกปัจจุบันนี้ค่ะ”
“เกรต้ามีพลังวิเศษในการสื่ออารมณ์ที่สร้างขึ้นมาบนฉาก ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่เราอยากให้บาร์บี้แลนด์เป็น คือมีความสดใส ความสุข และสร้างแรงผลักดัน เกรต้าเป็นผู้กำกับฯ ที่เต็มไปด้วยความสุข น่ารัก และให้การสนับสนุนเต็มกำลัง แถมยังมีความสามารถพิเศษเหลือเชื่อด้วย มีพลังของบาร์บี้จริงๆ เลยค่ะ”
ไรอัน กอสลิง…
“ฉันเห็นภาพไรอันมาตลอดค่ะ คุณอาจคิดถึงอีกหลายคนที่มารับบทเค็นได้ แต่ความจริงไม่ใช่เลย ไรอันมีคุณสมบัติครบทุกข้อ เขาเป็นนักแสดงบทดราม่าที่เก่ง เข้าใจเลือก เล่นบทโรแมนติกและคอมเมดี้ได้ ที่สำคัญคือเขาดูเหมือนเค็นและมีเสน่ห์ค่ะ”
บาร์บี้แลนด์…
“เต็มไปด้วยความเรียบง่าย คุณมีรถ มีบ้าน และมีเค็นด้วย นั่นคือความสนุกของบาร์บี้แลนด์ เป็นโลกที่ต่างจากความจริงเพราะผู้ชายต้องคอยทำนั่นทำนี่ ส่วนบาร์บี้แลนด์จะตรงกันข้าม สาวๆ คือเหล่าบาร์บี้ต้องทำทุกสิ่ง”
“พวกเราจะเห็นว่าบาร์บี้ทุกคนมีบ้านในฝันของบาร์บี้เป็นของตัวเอง เมื่อพวกเธอตื่นตอนเช้าก็จะโบกมือทักทายกัน มองเห็นกันได้เพราะไม่มีผนังกั้น พวกเธอรักแบบนั้น ไม่มีอะไรต้องอาย เหมือนกับสวนแห่งเอเดนก่อนที่จะต้องสวมใส่เสื้อผ้า นั่นคือบาร์บี้แลนด์ต่างกันตรงที่พวกเธอสวมเสื้อผ้า และดูดีมีเสน่ห์มากด้วย!”
การสวมชุดแบบบาร์บี้…
“การสวมเสื้อผ้าคือส่วนหนึ่งของวันที่เพอร์เฟ็กต์สำหรับบาร์บี้ พวกเธอตื่นขึ้นมาบนเตียง โบกมือทักทายเพื่อนบ้าน แปรงฟัน อาบน้ำสระผม แต่งชุดสวยๆ เพราะออกไปใช้ชีวิต เธอเปิดประตูออกไปและสิ่งเดียวที่ต้องทำคือหมุนตัวและจัดการร่างกายตัวเอง เมื่อเธอออกไปข้างนอก เสื้อผ้าชุดใหม่สำหรับวันต่อไปก็อยู่ในตู้เสื้อผ้าด้านหลังเรียบร้อย”
“คุณจะเห็นข้าวของเครื่องใช้ชาแนลเยอะมาก บาร์บี้ชอบชาแนล! ฉันมีชุดชาแนลที่ต้องสวมในเรื่องด้วย ภาพที่คิดไว้เกี่ยวกับบาร์บี้คือเธอมีเครื่องประดับทุกชิ้น และมักจะมีหมวก โบว์ ต่างหู และเครื่องประดับ พวกเครื่องประดับจะมีขนาดใหญ่สำหรับตุ๊กตา มีทั้งสร้อยคอและต่างหูพลาสติกใหญ่ๆ หมวกคือสิ่งที่ปกป้องพวกเธอจากแสงแดด และยังมีเครื่องประดับอื่นอย่างพวกกระเป๋า รองเท้า มีครบเลยค่ะ! เป็นอะไรที่สนุกมากเลย”
“ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายของเรา แจ็คเกอลีน เดอร์แรน มีความน่าทึ่งมากค่ะ ความละเอียดอ่อนของเธอที่มีต่อภาพยนตร์ อาจไม่ใช่สิ่งที่เราสังเกตได้จากการดูหนังครั้งแรก แต่ถ้าอ่านถึงตรงนี้และได้ดูภาพยนตร์ คุณจะเห็นได้จากพัฒนาการผ่านแฟชั่นของบาร์บี้ในช่วง 10 ปี บาร์บี้ของเธอเริ่มจากการถูกจำกัด ใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย เสื้อผ้าของเธอก็จะถูกจำกัดไปด้วย การตัดแต่งที่ดูสะอาด มีสิ่งก่อสร้างมากมายและใช้สีสันที่โดดเด่น เธอมีการพัฒนาตลอดเรื่องราว จนเริ่มเปลี่ยนแปลงเสื้อผ้าและดูสีสันอ่อนโยนลง”
ไรอัน กอสลิง (“เค็น”)
บทภาพยนตร์…
“บทเรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงทุกอย่างที่ผมรักในช่วงที่โตขึ้นมา แต่มีความต่างจากสิ่งที่เคยเห็นมาก่อน มีความสนุกสนานไม่แพ้เรื่องราวสะเทือนใจ มีความไร้สาระไม่แพ้กับเรื่องที่ชวนให้คิดลึกซึ้ง มีครบทุกอย่างในเรื่องเลยครับ”
เกรต้า เกอร์วิก…
“เธอมีสปิริตเหลือเชื่อ เป็นคนฉลาดที่พร้อมผลักดันทุกคนรอบตัว ไม่ให้ทุกคนจำกัดความสามารถตัวเอง ทำให้เราเข้าถึงบทบาทได้ทั้งดราม่าหรือคอมเมดี้”
เค็น…
ตัวละครเค็นของผมถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเฝ้าดูความน่าทึ่งของบาร์บี้ ในเรื่องมีประโยคที่เขาพูดว่าเขารู้สึกอบอุ่นเวลาที่บาร์บี้มองดูเขา เขาไม่มีจุดยืนเป็นของตัวเองเลยมักจะพบเรื่องชวนปวดหัว แต่เขามีงานทำที่ ‘ชายหาด’ เขาไม่แน่ใจนักว่างานนั้นคืออะไรกันแน่ แต่เขาก็อยากทำให้ดีที่สุด”
การผจญภัยของเค็น…
“สิ่งที่กระตุ้นให้เค็นออกไปผจญภัยร่วมกับบาร์บี้ คือเขาถูกเรียกว่าแฟนของเธอ แม้ว่าจะไม่เห็นความพิเศษอะไรในความสัมพันธ์นัก แต่พวกเขาก็ถูกจับคู่กันและเป็นเหตุผลที่มีเขาขึ้นมา มันเลยเป็นเรื่องยากสำหรับเค็นที่จะปล่อยให้เธอไปโดยไม่มีเขา”
เดวิด เฮย์แมน (ผู้อำนวยการสร้างฯ)
บาร์บี้…
“มนุษย์คือความงดงามและผมคิดว่าบาร์บี้เป็นตัวละครที่ดีต่อการสะท้อนมุมนั้นออกมา ในบาร์บี้แลนด์ทุกวันช่างเป็นวันที่แสนดี และบาร์บี้ ตุ๊กตา ได้สะท้อนถึงความไร้ที่ตินั้น แต่สำหรับบาร์บี้ในหนังมีการสะท้อนถึงความวุ่นวายและความไม่เพอร์เฟ็กต์ที่เกิดขึ้นในชีวิต”
พูดถึงมาร์โกต์ ร็อบบี้…
“มาร์โกต์แสดงสปิริตทั้งในฐานะผู้สร้างฯ และนักแสดง มีความกระตือรือร้นอย่างเห็นได้ชัด เธอมีไหวพริบความมั่นใจเต็มตัว สำหรับบทนี้เราต้องการคนที่พร้อมออกเดินทางไปสำรวจ และเข้าถึงความรู้สึกของตัวละครที่เหมือนมนุษย์ได้ ขณะเดียวกันก็ต้องมีอารมณ์ขัน ดูสมจริง ไม่เสแสร้งด้วย”
พูดถึงเกรต้า เกอร์วิก…
“นับเป็นความโชคดีมากที่ได้ร่วมงานกับเกรต้า เธอเป็นทั้งนักเขียนฯ และผู้กำกับฯ (รวมถึงนักแสดง) ที่มีความสามารถไร้ขีดจำกัดมาก เธอสร้างสรรค์ผลงานด้วยยความกระตือรือร้นทั้งภาพที่สื่อออมาและเนื้อหาสำคัญ ขณะเดียวกันก็ไม่ลืมที่จะสร้างความสนุกให้ผู้ชมด้วย หนังเรื่องนี้เป็นแนวคอมเมดี้และมีความสนุกที่ฉุดไม่อยู่ แต่ก็มีความรู้สึกและสะท้อนอะไรหลายอย่าง เหมือนที่เคยเห็นในผลงานที่ผ่านมาของเธอ เธอถ่ายทอดผลงานออกมาได้อย่างชำนาญ มีการเล่าเรื่องราวที่ซับซ้อนอย่างสมจริงและอบอุ่นใจ”
ทอม แอคเคอร์ลีย์ (ผู้สร้างฯ)
การสร้างฯ “Barbie”…
“เรียกได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับทุกคนที่รู้จักบาร์บี้และผู้ชมสำหรับเรื่องนี้ เพราะหนังเรื่องนี้มีศักยภาพกว่าภาพยนตร์ที่เราเคยผลิตกันมาก่อน แต่ความท้าทายอยู่ที่เรื่องความคิด เพราะมันไมจำเป็นต้องอาศัยเรื่องเล่าอะไร สิ่งที่แมทเทลสร้างขึ้นมาได้สร้างความตื่นเต้นไว้อยู่แล้ว ทุกอย่างมีความสดใส สัมผัสได้ และอยู่ในโลกของเล่น มันคือประสบการณ์ในการเรียนรู้ส่วนหนึ่งของเราเช่นกัน”
ทีมนักแสดงของ “Barbie”…
“เราปูทางไว้ด้วยกลุ่มคนที่พร้อมจะมีส่วนร่วมในหนังเรื่องนี้ มีการคุยถึงเรื่องบาร์บี้และเค็นเป็นพิเศษด้วยซ้ำ เพื่อที่จะถ่ายทอดความสนุกร่วมกับพวกเขาออกมาได้ พวกเราได้ตัวทีมนักแสดงในเวลาเพียงไม่นาน จนเราอยากให้การถ่ายทำมันยืดเยื้อออกไป โดยเฉพาะในช่วงที่มีฉากปาร์ตี้เต้นรำ ทุกคนมาอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันที่มีการเต้นรำและความสนุก ผมอยากอยู่ที่นั่นจริงๆ จนรู้สึกว่า ‘ทำไมเราต้องอยู่ในกองถ่ายของเรื่องนี้ด้วยเนี่ย?’”
ร็อบบี้ เบร็นเนอร์ (ผู้สร้างฯ)
ค้นพบเส้นทางของบาร์บี้สู่จอยักษ์…
“ตอนพบวาแมทเทลทำธุรกิจด้านภาพยนตร์ ผมจัดอันดับรายชื่อภาพยนตร์ 100 เรื่องที่เหมาะจะสร้างภาพยนตร์ ไมเยคิดว่าบาร์บี้จะเป็นคนแรกที่กลายเป็นภาพยนตร์ เพราะบาร์บี้มีการเปิดกว้างมาก บาร์บี้เป็นอะไรได้หลายอย่าง และเนื่องจากทุกคนมีความผูกพันกับบาร์บี้ มันเหมือนภารกิจอันยิ่งใหญ่ที่จะนึกภาพว่าภาพยนตร์ของบาร์บี้จะเกี่ยวกับอะไรบ้าง แต่พอได้พบกับมาร์โกต์ [ร็อบบี้] เธอแนะนำไอเดียของเกรต้า [เกอร์วิก] การผจญภัยของเราก็ได้เริ่มขึ้น หลังจากนั้นเมื่อได้อ่านบทฯ ก็คิดว่า “ว้าว” ผมรู้สึกว่าเป็นบทที่แหวกแนวเท่าที่เคยอ่านมาเลยในชีวิต คล้ายกับการผจญภัยของ ‘Wizard of Oz’ ที่สนุกสนาน”
การสื่อถึงบาร์บี้ออกมา…
“แมทเทลจริงจังกับบาร์บีมาก พวกเขาพาเธอไปไกลถึงดวงจันทร์เลยล่ะ เธอได้เป็นประธานาธิบดีด้วย จุดมุ่งหมายคือการทำให้เธอดูเป็นแรงบันดาลใจและคอยผลักดันได้ อีกทั้งยังมีบาร์บี้ใหม่ๆ ออกมาทุกปี ความน่าทึ่งคือเรื่องพัฒนาการของบาร์บี้ที่เป็นทั้งของเล่นและความฝันของเรา ว่ากันว่ามีคนที่ไม่ใชแฟนของบาร์บี้ด้วย ซึ่งเกรต้าและโนอาห์ [บวมแบช] ฝากผลงานไว้อย่างดีเยี่ยม พวกเขาพาไปสำรวจทุกด้านของบาร์บี้และการพูดคุยเกี่ยวกับบาร์บี้ สร้างเสียงหัวเราะและรวมทุกอย่างเกี่ยวกับบาร์บี้เอาไว้ แต่ขณะเดียวกันก็สร้างความซับซ้อน ความน่าสนใจ และเฉียบเอาไว้ในเรื่องราว นันคือสิ่งที่ทำให้หนังสนุกและเต็มไปด้วยประสบการณ์ที่เข้าถึงทุกคนได้ มันจะตรงใจคุณในหลายด้านแน่ๆ”
เคท แมคคินนอน (บาร์บี้): “เราเรียนวิชางานเขียนบทฯ ร่วมกัน เกรต้าเป็นอัจฉริยะมาก ไม่แปลกใจเลยที่เธอกลายเป็นนักเขียนฯ และผู้กำกับฯ ที่ได้รางวัล มีคนบอกว่าเธอจะสร้างหนังบาร์บี้ ฉันก็คิดว่าเพอร์เฟ็กต์เลย เอเจนท์ของฉันบอกเรื่องบทบาร์บี้และฉันคิดว่า ‘โอเค ฉันอุ่นใจละ ถ้าจะขอให้เลือกบทที่เป็นตัวเองก็คงจะบาร์บี้ตัวนี้ น้องสาวของฉันมีบาร์บี้เป็นกอง เอาใจใส่เรื่องหวีผมและสวมเสื้อผ้าให้ตลอด แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยอมไม่ได้คือการโกนผมของเธอ เราทำให้บาร์บี้มีขายาวเรียวเท่าที่จะทำได้ นั่นคือบาร์บี้แบบที่สาวๆ ทุกคนโตมาด้วยกัน”
อิซซา เร (บาร์บี้): “เรื่องที่น่าดีใจที่สุดคือตอนที่เกรต้าพูดว่า ‘รู้ไหมฉันคิดถึงคุณเลยล่ะที่อยากให้เป็นประธานาธิบดีของโลกใบนี้ ฉันคิดว่าใครจะไม่อยากเห็นแบบนั้นบ้าง?’ และฉันคิดว่า ‘อะไรนะ ฉันหรือ?’ การมีโอกาสรับบทประธานาธิบดีของเหล่าบาร์บี้ แม้ว่าพวกเธอจะทำได้ทุกอย่างก็จริง แต่นับว่าเป็นเรื่องที่วิเศษมากค่ะ”
ฮาริ เนฟ (บาร์บี้): “มีการเสียดสีในโลกบาร์บี้แลนด์เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเรา ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งเพราะสาวๆ จะทำอะไรก็ได้ รับแรงกดดันได้ทุกเรื่อง แต่ “บาร์บี้” ที่เกรต้าสร้างขึ้นมาทำให้เราสนุกและหัวเราะไปกับพวกเธอ ฉันคิดว่าคนที่จะได้ฉันไปครองคงเป็นเกย์วัย 38 ปีในเวสต์วิลเลจและสะสมตุ๊กตา เพราะเสื้อผ้าพวกนี้เหมาะจะอยู่ในตู้มากเลย! ไม่ใช่ของเด็กเล่นเลยสักนิด!”
อเล็กซานดรา ชิพพ์ (บาร์บี้): “ความงดงามอยู่ตรงที่ได้เห็นบาร์บี้หลายแบบที่เกรต้ากำหนดเป็นตัวละครหลัก และยังมีศิลปินสมทบด้วย ล้วนมาจากทุกเชื้อชาติ ทุกขนาด มีฝีมือแตกต่างกันออกไป ฉันคิดว่าเรื่องสำคัญคือทุกคนได้เห็นบาร์บี้ในแบบที่ไม่เหมือนมาร์โกต์เพียงอย่างเดียว นั่นมีความหมายเยอะมาก เกรต้าทำให้บาร์บี้แต่ละคนมีเอกลักษณ์ ทำให้เราเห็นความเฉพาะตัวของแต่ละคน ซึ่งจะใส่ลงไปในตัวบาร์บี้ที่เธอสร้างขึ้นมา”
เอ็มม่า แม็คคีย์ (บาร์บี้): “สิ่งหนึ่งที่เกรต้าใส่ใจมากคือเราเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน แต่มีการถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของบาร์บี้ที่ต่างกันไป”
ชารอน รูนีย์ (บาร์บี้): “สิ่งสำคัญอยู่ที่เกรต้าบอก และเป็นสิ่งที่ฉันจดจำเอาไว้ คือบาร์บี้คือทุกสิ่งและจะเป็นอะไรก็ได้ ไมมีอะไรที่เธอทำไม่ได้หรือเป็นไม่ได้ ฉันคิดว่าสาวๆ คนอื่นอาจพูดแบบเดียวกัน พวกเรือบาร์บี้ เราทำได้ทุกอย่าง และทำทุกอย่างออกมาดีเยี่ยมด้วย”
แอนา ครูซ เคย์น (บาร์บี้): “ฉันมีเรื่องในอดีตที่ต่างออกไปมากค่ะ คุณแม่ของฉันเป็นชาวฟิลิปปินส์ ส่วนคุณพ่อเป็นชาวยิว ฉันถูกเลี้ยงมาควบ 2 วัฒนธรรม และไม่คิดว่าเป็นเรื่องแปลกอะไร ฉันคดว่ามีหลายคนบนโลกที่ผสาน 2 วัฒนธรรมอย่างแน่นแฟ้นในชีวิต และไม่ได้มีอะไรที่โดดเด่นเพียงด้านเดียว แต่อันที่จริงนี่เป็นเอกลักษณ์และส่วนสำคัญในชีวิตพวกเขาเลยค่ะ บาร์บี้ของฉันคือตัวแทนคนเหล่านั้น ฉันรู้สึกผูกพันเป็นพิเศษเพราะไม่ค่อยได้เห็นความเป็นตัวเองครบทุกด้านแบบนี้ และเป็นตัวแทนสื่อถึงผู้ที่ไม่ต่างจากคนอื่น แต่มีครบทุกด้าน”
เอเมอรัลด์ เฟนเนล (มิดจ์): “มุกตลกที่เกิดขึ้นตลอดเรื่องมาจากมิดจ์ที่พยายามเก็บภาพไว้ตลอด ส่วนกล้องมักจะหันหนีเธอทันที ในฐานะของนักแสดงเวลาที่กล้องหันหนีเราคือเรื่องเลวร้ายมาก แต่ฉันรู้ว่าตัวเองจะต้องพบกับอะไร!”
คิงส์ลีย์ เบ็น–เอเดอร์ “นั่นคือตัวเลือกของผมเลยครับ ผู้ชายคนนี้ไม่ต้องใช้สมอง และผมอยากให้เขาดูเป็นผู้ชายที่ผมโตมาด้วยกัน เลือกว่าตัวเองจะตามใคร และอิงจากความคิดเห็นจากคนรอบตัว เพราะพวกเขาไม่รู้ว่าจะคิดอะไรแบบไหน และสิ่งที่ทำให้เขาดูตลกเพราะผมไม่รู้ว่ากำลังทำอะไรจนกระทั่งเห็นไรอันแสดงออกมา มันกลายเป็นความสนุกที่แผ่กระจายสู่ผู้อื่นได้ และผมจะเห็นฉากในจินตนาการได้เลย จนลงเอยที่การแสดงแตกต่างออกไป”
ซือมู่ หลิว “เค็นก็เป็นเพียงเค็นน่ะแหละครับ พวกเขาออกไปเที่ยวกันและมีหลายอย่างที่พัฒนามาจากบาร์บี้ พวกเขามีความกระตือรือร้นสูงมากและชอบทำอะไรไร้สาระ ผมได้รู้มาว่าเค็นเป็นนักเต้นที่มีฝีมือด้วย เขาเต้นถอยหลังได้และไรอันในร่างเค็นก็ถ่ายทอดออกมาได้ดีเยี่ยม”
เอ็นคูติ กัตวา “เค็นของผมอ่อนโยนและเปราะบางมากหน่อย ผมคิดว่าเขามีความสุขที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของบางอย่าง เขาอยากมีส่วนร่วม เป็นส่วนหนึ่ง และมีความรักแบบที่เค็นมีให้กัน มันดูน่าทึ่งและสะท้อนถึงเรื่องราวทางสังคมและเรื่องเพศสภาพ ทุกอย่างออกมาในโทนสีชมพูอย่างนุ่มนวล”
สก็อตต์ อีวานส์ “เขาปรากฏตัวขึ้นมา และเค็นทุกคนต่างรู้ดีว่าตัวเองเป็นใคร มีหน้าที่อะไร ซึ่งมักเรียกว่า ‘ชายหาด’ เกรต้าอธิบายว่าเค็นไม่มีบ้านและไม่จำเป็นต้องมีงาน พวกเขาไม่จำเป็นต้องมีอะไรเลยก็ได้! ฉันทำให้เค็นดูมีความดราม่ามากขึ้น และยังมีคิงสลีย์ที่ดูเป็นเค็นตาโต มีเอ็นคูติผู้เป็นเค็นที่อ่อนหวานและเรียบง่าย”
โอ้ ใช่เลย และอัลแลน:
ไมเคิล เซร่า “การถ่ายทอดตัวละครของผมออกมาในแบบเกรต้าและโนอาห์ในเรื่อง คือสิ่งที่อัลแลนดูเป็นคนไม่สำคัญในโลกของเค็น เขาไม่ประสบความสำเร็จหรือโด่งดังอะไร เขาดูโดดเดี่ยวและเหมือนคนนอก ไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกับเค็นเลย”
มนุษย์ของพวกเราในโลกแห่งความจริง:
อเมริกา เฟอร์เรรา ในบทกลอเรีย: “กลอเรียเหมือนผู้หญิงทั่วไปค่ะ ที่ทำงานเธอไม่ได้อยู่ระดับแนวหน้า มีความฝันมานานว่าจะเลื่อนขั้นและโน้มน้าวแบรนด์ที่เธอทำงานอยู่ ฉันไม่ได้โตมากับการเล่นบาร์บี้หรือคิดว่าผูกพันอะไรกับบาร์บี้ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย เพราะเธอคือส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมของพวกเรา”
“พอฉันได้รับบท ฉันมั่นใจเลยว่าเกรต้าและมาร์โกต์ต้องมีมุมมองที่ดี พอฉันอ่านจบก็กลายเป็นสาวบาร์บี้ไปซะแล้ว ฉันจำได้ว่าหัวเราะและร้องไห้ในเวลาเดียวกัน ในเรื่องมีความเป็นมนุษย์สูงมาก และมีความใส่ใจในตัวละครทุกตัว ปฏิเสธไม่ลงเลยว่าฉันอินกับเรื่องราวและทุกตัวละคร โดยเฉพาะกลอเรีย”
อาเรียน่า กรีนแบลตต์ รับบทซาช่า ลูกสาวของกลอเรีย: “ซาช่าเป็นคนตรงไปตรงมาค่ะ เธอมีความรู้และคิดอะไรตามหลักการทุกอย่าง เธอมีความเห็นแทบจะทุกสิ่งและไม่ถนอมน้ำใจกับเรื่องใด เธอจะบอกเราว่าคิดอย่างไร เธอเป็นตัวแม่ของโรงเรียน ใครๆ ก็กลัวเธอและมันก็สนุกดีค่ะ”
“ซาช่าและคุณแม่ของเธอผ่านพายุอารมณ์หลายครั้ง ความเห็นไมลงรอยกันหลายเรื่อง ซาช่าหัวแข็งต่อกลอเรีย แต่ก็มีอีกหลายมุมของซาช่าที่ต่างไป เหมือนความสัมพันธ์ตามประสาแม่ลูกที่ทุกคนเข้าใจ เรียกว่าเป็นเรื่องราวที่เข้าใจได้และมีความงดงามระหว่างพวกเขาค่ะ เป็นบทที่แสดงแล้วสนุกมากเลย”
วิล เฟอร์เรล รับบทซีอีโอแมทเทล : “ผมคิดว่ามันทำให้แมทเทลดูฉลาดมากขึ้นครับ เพราะระหว่างที่เนื้อเรื่องถ่ายทอดโลกของบาร์บี้ พวกเขาก็ยังใส่มุกตลกลงไปสอดแทรก เราได้พบกับตัวละครของผมและทีมงานตอนที่เห็นความแตกต่างระหว่างบาร์บี้แลนด์กับโลกแห่งความจริง บาร์บี้และเค็นวนเวียนอยู่ในโลกมนุษย์และมีขนาดเท่ามนุษย์จริง เรารู้ทันทีเลยว่านี่ไม่ใช่เรื่องที่ดีแล้ว มันไม่ดีเพราะไม่ดีสำหรับธุรกิจ เราเลยเดินทางไปที่แมทเทลเพื่อขอให้บาร์บี้กลับไปอยู่ในกล่อง เราเหมือนตกอยู่ในอันตราย แต่มันก็เต็มไปด้วยเรื่องไร้สาระตลอด”
“เกรต้ากระตุ้นให้เราลองแสดงสด จนทำให้ผมเกิดไอเดียอะไรหลายอย่างพร้อมกับเจมี่ เดเมทริอู และ คอนเนอร์ สวินเดลส์ ทำให้เรารู้สึกเหมือนทีมงานเดียวกัน รู้จักกัน และได้ลองเล่นด้วยกัน มีการถกเถียงกัน ทำให้เราได้รับบทเป็นทั้งซีอีโอและลูกน้องของเขา มันสนุกดีครับที่ได้ถ่ายทอดพลังแบบนี้ออกมา พวกเรามีทั้งช่วงที่ดูทำอะไรไม่ถูกและทำเรื่องผิดพลาดขึ้นมา”
ข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์
เริ่มเดินกล้องถ่ายทำเรื่อง BARBIE เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2022 ที่ Warner Bros. Studios Leavesden ในเฮิร์ทฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ เป็นเวลาเกือบ 2 แล้วที่เริ่มมีโรคระบาดเกิดขึ้น เกรต้า เกอร์วิก และ โนอาห์ บวมแบชกักตัวอยู่ในอพาร์ทเมนท์ที่นิวยอร์คของตัวเอง เพื่อเขียนบทที่เกรต้าลงชื่อเป็นผู้กำกับฯ ในภายหลัง
ช่วงการพัฒนา ผู้กำกับฯ เกรต้า เกอร์วิกโทรหาผู้กำกับฯ ปีเตอร์ เวีย์เพื่อถามเรื่องผลงานของเขาใน “The Truman Show” เพราะแสงมีความสอดคล้องกัน และเพื่อสร้างความรู้สึกที่สมจริงอย่างที่เธอต้องการในบาร์บี้แลนด์
ผู้ชมจะไม่ได้เห็นแสงพระอาทิตย์ที่เป็นธรรมชาติ จนกระทั่งบาร์บี้และเค็นมาถึงลอสแองเจลิส ฉากบาร์บี้แลนด์ทั้งหมดถ่ายทำในโรงถ่ายที่ Warner Bros. Studios Leavesden
บรรยากาศด้านนอกห้องประชุมของแมทเทลเป็นวิวธรรมชาติ ซึ่งเป็นภาพที่วาดด้วยมือมีความยาวมากกว่า 250 ฟีต มีการแสดงความนับถือต่อ Warner Bros. ด้วยโลโก้บริษัทที่อยู่ระดับสายตา ลอสแองเจลิสเองก็ถูกวาดภาพลงไป โดยแสดงความเคารพต่อ Emerald City จาก “The Wizard of Oz”
ที่เส้นขอบฟ้าของลอสแองเจลิสในเรื่องจะเห็นตึก General Motors โดยในเรื่องเค็นขับทั้งรถฮัมเมอร์และรถเปิดประทุนของบาร์บี้ที่ได้แรงบันดาลใจจากเชฟวี่คลาสสิค
บ้านบาร์บี้ของเคท แมคคินนอนจะมีหลุมที่ซ่อนเอาไว้ทั้งฉาก ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้แมคคินนอนซ่อนขาข้างหนึ่งเอาไว้ระหว่างถ่ายทำ และมีขาปลอมอยู่บนผนังเพื่อหยอกล้อว่าเธอถูกผ่าขา
ในฉากไม่มีสีขาวหรือดำเข้มในบาร์บี้แลนด์เลย
ช่วงที่ทีมงานและนักแสดงถ่ายทำฉากชาดหาดบาร์บี้แลนด์ที่มีแสงแดดสดใสใน Stage N ที่ Warner Bros. Studios Leavesden พายุหิมะกำลังทำให้ทุกคนที่อยู่ภายนอกหนาวเหน็บ
ในฉากปาร์ตี้เต้นรำของบาร์บี้ ผู้ออกแบบท่าเต้นเจนนิเฟอร์ ไวท์ตั้งใจให้มีรายละเอียดการเต้นจาก “Gold Diggers” ของบัสบี้ เบิร์คลีย์ หนึ่งในผู้กำกับฯ เรื่องโปรดของเกรต้า เกอร์วิก
มีการสร้างม้าจิ๋วขึ้นมามากกว่า 30 ตัวสำหรับเค็นทุกตัวผลิตขึ้นด้วยมือและแผนกศลป์ทำให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแต่ละคน
รถพยาบาลบาร์บี้ที่ช่วยเค็นจากอุบัติเหตุเล่นเซิร์ฟ เป็นรถขนาดเท่ากับรถพยาบาลของเล่น นับเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือระหว่างแผนกต่างๆ มีการเปิดเข้าห้องผ่าตัดของคุณหมออัตโนมัติ ซึ่งเป็นฉากที่ใช้สเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์เต็มที่
รถของบาร์บี้ควบคุมด้วยรีโมท มีการส่งสมาชิกทีมสเปเชียลเอ็เฟ็กต์เข้าไปนั่งคนหนึ่ง โดยมีการผลิตเก้าอี้พิเศษและใช้เทคโนโลยีโดรน VR ทำให้บาร์บี้ของมาร์โกต์ ร็อบบี้สามารถขับรถโดยปล่อยมือได้อย่างอิสระทั้งฉาก
รถของบาร์บี้จะใช้ไฟฟ้าเหมือนกับฮัมเมอร์ของเค็น ซึ่งเป็นหนึ่งในฮัมเมอร์ไฟฟ้าคันแรกที่ออกมาจากไลน์การผลิต
กล่องจดหมายนกฟลามิงโกด้านนอกบ้านในฝันของบาร์บี้เป็นจุดชาร์จไฟสำหรับรถบาร์บี้ได้ด้วย
เมื่อบาร์บี้และเค็นเดินทางมาถึงนิวยอร์ค ผู้กำกับฯ เกรต้า เกอร์วิกอิงจาก “Midnight Cowboy” เพื่อวาดสะท้อนถึงสิ่งที่เธอต้องการ โดยเฉพาะฉากที่จอน วอยท์เดินผ่านเมืองนิวยอร์คอย่างโดดเด่น
บ้านในฝันของบาร์บี้สูงมากกว่า 25 ฟีต มาร์โกต์ ร็อบบี้แสดงฉากผาดโผนเองทั้งหมด รวมถึงการกระโดดจากด้านบนของบ้านด้วย
ทีมงานและนักแสดงจากเรื่อง “Barbie” ได้เข้าชิงรางวัล Academy Award มากกว่า 50 รางวัล และได้รับรางวัล Oscar รวม 8 รางวัล
ตัวละครของวิล เฟอร์เรลถูกตั้งชื่อแมเทล ซีอีโอแบบง่ายๆ ชื่อของเขาไม่เคยถูกเปิดเผย เช่นเดียวกับพนักงานของแมทเทล รวมถึงตัวละครของเจมี่ เดเมทรีอูที่ชื่อผู้บริหารแมทเทลหมายเลข1 และ 2 แต่น่าอิจฉาเด็กฝึกงานของแมทเทล ซึ่งเป็นตัวละครของคอนนอร์ สวินเดลที่ชื่ออารอน ดินคินส์
จากแรงบันดาลใจในเรื่อง “Mean Girls” ทุกวันพุธทีมงานจะถูกกำหนดให้สวมเครื่องแต่งกายที่มีสีชมพู ทุกคนให้ความร่วมมืออย่างจริงจังมาก
เมื่อบาร์บี้ต้องเดินทางไปศาลพิจารณาคดีแห่งบาร์บี้แลนด์ มาร์โกต์ ร็อบบี้สวมชุดชาแนลวินเทจที่คลาวเดีย ชิฟเฟอร์นางแบบและนักแสดงหญิงเคยสวมใส่
ในเรื่อง “Barbie” บาร์บี้ของมาร์โกต์ ร็อบบี้ไม่เคยสวมแหวนที่นิ้วเลย เพื่อให้เกียรติตุ๊กตาคลาสสิคที่นิ้วติดกันจึงไม่เหมาะจะสวมแหวน
Cinematographer Rodrigo Prieto coined the term TechnoBarbie with Greta Gerwig to describe the style of photography and lighting they used for Barbie Land.
เหล่าเค็นอาจมีความแตกต่างกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่พวกเขาชอบตรงกันมาจากความชอบบาร์บี้คือการแวกซ์ขนตามเรือนร่าง ผู้กำกับฯ เกรต้า เกอร์วิกอธิบายให้ฟังหลายครั้งว่าเค็นไม่ใช่มนุษย์ พวกเขาคือตุ๊กตา
ตุ๊กตาแสนวิเศษ!
เดือนมีนาคม 1959 มีตุ๊กตาตัวหนึ่งเปิดตัวในงาน American Toy Fair ในเมืองนิวยอร์ค ซึ่งเป็นการพลิกโฉมวงการธุรกิจจนถึงวันนี้ มีการสร้างรอยยิ้มให้เด็กๆ ทั่วโลก ตุ๊กตาตัวนั้นผลิตโดยผู้ร่วมก่อตั้ง Mattel รูธ แฮนด์เลอร์ ‘บาร์บี้’ เป็นตุ๊กตาพลาสติกสูง 11 นิ้วในรูปร่างหน้าตาแบบผู้ใหญ่ นับเป็นการปฏิวัติวงการตุ๊กตาที่มีการผลิตแค่ตุ๊กตาเด็กทารก ตุ๊กตาบาร์บี้หรือมาจากชื่อเต็ม ‘บาร์บาร่า มิลลิเซนท์ โรเบิร์ตส’ ตั้งชื่อตามลูกสาวของแฮนด์เลอร์ชื่อบาร์บาร่า และได้แรงบันดาลใจจากตุ๊กตาเยอรมัน บิลด์ ลิลลี่ ที่แฮนด์เลอร์ซื้อสิทธิ์มา ตอนเปิดตัวในสหรัฐฯ เรียกได้ว่าเป็นตุ๊กตาผู้ใหญ่เพียงตัวเดียวที่อยู่ในการผลิต และสร้างความท้าทายความเป็นมาอันยาวนานของเด็กสาวที่อยากเป็นคุณแม่ ให้เด็กๆ มีตุ๊กตาเด็กทารกคอยดูแลเลี้ยงดู บาร์บี้เปลี่ยนแปลงทุกอย่าง เธอกลายเป็นแรงผลักดันและพิสูจน์ให้เห็นว่าความนิยมไม่ได้อยู่แค่ในสหรัฐฯ แต่เป็นทั่วโลก ตลอดเวลานานกว่า 60 ปีต่อมา บาร์บี้ยังคงได้รับความนิยม อันที่จริงเธอคือตุ๊กตาที่มียอดขายสูงสุดของโลก บางครั้งอาจเกิดการถกเถียงกันแต่เต็มไปด้วยความรักเสมอ บาร์บี้แชร์เรื่องราวในอดีตของเราและกลายเป็นส่วนหนึ่งทางวัฒนธรรม