จะทำอย่างไรเมื่อหนังไทยติดโควิด!!! ตัวแทนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยสุมหัวรวมตัวกันเสวนาถึงทางรอด โดยมี ส.ส.รัฐบาลมาร่วมรับฟังปัญหาพร้อมนำเสนอรัฐบาลหาแนวทางช่วยเหลือ

จะทำอย่างไรเมื่อหนังไทยติดโควิด!!!

วิกฤตโควิด-19 ทำให้ธุรกิจหลาย ๆ อย่างเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยด้วย ตัวแทนวงการภาพยนตร์ไทยจึงได้รวมตัวกันจัดเสวนาถึงทางรอดในวิกฤติครั้งนี้ โดย คุณวิชา พูลวรลักษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็ก กรุ้ป จำกัด (มหาชน), คุณยงยุทธ ทองกองทุน ตัวแทนจาก GDH, คุณสง่า ฉัตรชัยรุ่งเรือง ตัวแทนจาก ทรานส์ฟอร์เมชั่นฟิล์ม, คุณเกียรติกมล เอี่ยมพึ่งพร ตัวแทนจาก ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น, คุณพิทยา สิทธิอำนวย ตัวแทนจาก สหมงคลฟิล์ม ร่วมพูดคุยแสดงความคิดเห็นพร้อมผลักดันให้เกิดกองทุนภาพยนตร์แห่งชาติ รวมถึงเสนอให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์แห่งชาติ และเป็น Soft power ในการนำเงินเข้าประเทศ โดยมีตัวแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาดามเดียร์ วทันยา วงษ์โอภาษี และกลุ่ม ส.ส. ดาวฤกษ์ ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์, ภาดาท์ วรกานนท์ ร่วมเสวนาและรับฟังความคิดเห็น พร้อมนำข้อมูลเสนอให้กับรัฐบาล ที่โรงภาพยนตร์เมจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน เมื่อวันก่อน

คุณวิชา พูลวรลักษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็ก กรุ้ป จำกัด (มหาชน)

เริ่มพูดคุยถึงภาพรวมของอุตสาหารรมภาพยนตร์ไทย โดย คุณวิชา พูลวรลักษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็ก กรุ้ป จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า “โดยรวมมาถึงแม้จะจำนวนโรงภาพยนต์จะมีไม่มากเท่าเกาหลีใต้ แต่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมนี้ก็ไม่ได้รับผลกระทบจากดิจิตอลเท่าใดนัก และยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อเนื่องทุกปี แต่ภาพยนตร์ไทยมีสถิติที่น่ากังวลเพราะเหลือสัดส่วนการตลาดต่ำกว่า 30% มาตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับภาพยนตร์ต่างประเทศ และเมื่อต้นปีเมื่อเจอกับวิกฤติโควิด 19 ก็ถือเป็นโอกาสที่ดี เมื่อหนังฮอลลีวู้ดยังเข้าสู่ตลาดโลกได้ยากขึ้นด้วยหลายปัจจัย ทำให้โรงหนังในปัจจุบันทั่วโลกต่างก็พึ่งหนังภายในประเทศเป็นหลัก ทำให้วันนี้เราจึงมาพูดคุยกันถึงยุทธศาตร์หนังไทยในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร”

คุณยงยุทธ ทองกองทุน ตัวแทนจาก GDH

คุณยงยุทธ ทองกองทุน ตัวแทนจาก GDH พูดถึง การนำพาภาพยตร์ไทยไปสู่ตลาดโลก “ถ้าไม่มีวิกฤติ โควิด 19 หนังไทยเองก็ปักหมุดกับตลาดโลกมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงหลังหนังไทยเกือบทุกเรื่องไปฉายในตลาดอาเซียน, จีน, ฮ่องกง, ไต้หวัน อย่างต่อเนื่อง แต่ตอนนี้เมื่อมีปัญหา โควิด ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงักไปหมด โรงภาพยนตร์ที่ถูกปิด การวางแพลนฉายยังทำไม่ได้ ทำให้เสียโอกาสไป”

คุณพิทยา สิทธิอำนวย ตัวแทนจาก บริษัท สหมงคลฟิล์ม

 คุณพิทยา สิทธิอำนวย ตัวแทนจาก บริษัท สหมงคลฟิล์ม กล่าวว่า “หนังไทยมีโอกาสเข้าตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น แต่ความไม่แน่นอนทำให้ทุกคนมีความระมัดระวัง ในอาเซียน หนังไทยเป็นประเทศเดียวที่มีศักยภาพสามารถขายไปได้ทุกประเทศ เราเคยมีตลาดในอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรป แต่ปัจจุบันตลาดเปลี่ยนไปสตูดิโอต่าง ๆ ในฮอลลีวู้ดก็ผลิตหนังสเกลใหญ่มากขึ้น ทำให้ความน่าสนใจในแง่ทุนสร้างของหนังที่เล็กกว่าอย่างหนังไทยก็ลดน้อยลง แต่ทุกคนก็ยังผลิตและสู้กันต่อไป”

คุณเกียรติกมล เอี่ยมพึ่งพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น จำกัด

ส่วนคุณเกียรติกมล เอี่ยมพึ่งพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น จำกัด พูดถึงเงินทุนทร้างหนังว่า “ขนาดของตลาดในบ้านเราก็มีส่วนสำคัญกับทุนสร้างหนังในปัจจุบัน คิดว่า คอนเทนต์ไทยสามารถไปไกลทั่วโลกได้ เพราะเราก็เคยทำแล้วกับ องก์บาก  แต่เงินทุนที่จะสามารถผลิตสเกลให้ใหญ่ขึ้นเพื่อเดินทางไปสู่ตลาดโลกได้  อันนี้เราอาจจะต้องมองหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม”

คุณสง่า ฉัตรชัยรุ่งเรือง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรานส์ฟอร์เมชั่นฟิล์ม

คุณสง่า ฉัตรชัยรุ่งเรือง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรานส์ฟอร์เมชั่นฟิล์ม หนังไทยปริมาณยังมีไม่พอและสเกลที่ยังเล็กอยู่ วันนี้ที่เรามาร่วมกันก็อยากจะมองว่าทำอย่างไรให้หนังไทยจะมีอายุที่ยืนและมั่นคงได้ จึงเชิญตัวแทนทางภาครัฐมานั่งฟัง เรามาทำอะไรร่วมกันที่ทำจะให้เกิดหนังไทยที่จะยั่งยืนมีทั้งปริมาณ มีคุณภาพ เพราะหนังเป็นต้นน้ำ เริ่มจากคนทำหนัง, production, post production, คนโปรโมทหนัง, สถานที่, โรงภาพยนตร์ cover คนทั้งประเทศอยู่มาก ถ้าอุตสาหกรรมนี้โดนกระทบ มันก็กระทบกับคนจำนวนมาก เราจะทำยังไงให้มันยั่งยืนและเติบโต เราก็อยากเสนอเป็น long-term project เอาเงินมาลงทุนร่วมกัน ทำหนังไทย ให้หนังมีสเกลใหญ่ขึ้น เติบโตสู้กับหนังต่างประเทศได้ ถ้าเรามีหนังไทยทุกเดือนเกิดขึ้นในเมืองไทยคิดว่า จำนวนคนดูหนังไทยเติบโตขึ้น ทำให้บรรยากาศการลงทุนหนังไทยในบ้านเราน่าลงทุน ลงไปปุ๊ปก็มีคนดูมาก ทำให้เราสามารถยืนได้ด้วยขาตัวเอง มีคนเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น แต่วันนี้อยากให้กองทุนแรกต้องทำให้ได้ก่อน
ในด้านความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน ในวงเสวนาได้มีการพูดคุยกันดังนี้

คุณวิชา พูลวรลักษ์ ได้กล่าวว่า “ลำพังภาคเอกชนถ้าเราทำหนังกันเองก็จะโตได้ในระดับหนึ่งนะครับ ในอดีตภาครัฐก็เคยเข้ามาช่วยหนังไทยนะครับ ให้เงินสนับสนุนหนังไทย แล้วก็ร่วมสร้างก็หลายเรื่อง เช่น สุริโยทัย และภาครัฐช่วยเอาหนังไทยไปยังต่างประเทศด้วย ยุคหนึ่งหนังไทยก็มีความแข็งแรงแล้วก็เติบโต ในช่วงที่เรียกว่าเป็นช่วงรุ่งของหนังไทยและโรงหนัง ผมคิดว่าในเมืองไทยเนี่ยคุณภาพเราไม่แพ้ใครในโลกอยู่แล้ว เพราะหลาย ๆ ประเทศก็มองว่าเราคืออันดับ 1 ผู้กำกับฯเราก็เก่ง ดาราเราก็หน้าตาดี อยากให้ภาครัฐลองมองว่าดูว่า อุตสาหกรรมหนังไทย ที่ภาษาทางธุรกิจที่เรียกว่าเป็น soft power จะใช้อุตสาหกรรมเราทำอย่างไรให้นำเงินเข้าประเทศได้ เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างวัฒนธรรมให้กับคนในประเทศด้วย อยากให้ภาครัฐหันกลับมามองว่าหนังไทยจะเป็น soft power ของประเทศได้ไหม ถ้าภาครัฐเข้ามาหนุนก็สามารถนำเงินเข้าประเทศได้ไม่น้อย

คุณวทันยา วงษ์โอภาษี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

คุณวทันยา วงษ์โอภาษี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าว่า “ในฐานะ ส.ส. ก็จะแก้ไขความเดือดร้อนให้กับประชาชนอยู่แล้ว และเห็นได้ว่าวิกฤตโควิด ติดไปในทุกภาคส่วนธุรกิจ แต่ในทุก ๆ วิกฤติจะมีโอกาสอยู่เสมอ เราเจอปัญหาเยอะมากเลย แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นโอกาสจากเรื่องของอุตสาหกรรมหรือ soft power ตรงนี้ที่รัฐควรจะหันมาส่งเสริม เป็นโอกาสการฟื้นฟูเศรษฐกิจมันมีความเป็นไปได้เพิ่มมากขึ้น เช่นทางเกาหลีก็ใช้ soft power ในการส่งออกวัฒนธรรมเกาหลี ทำให้เกิดรายได้ต่าง ๆ โอกาสต่าง ๆ กลับเข้าสู่ประเทศเกาหลีมากมายที่เห็นได้ชัดเช่น การท่องเที่ยว, วัฒนธรรมอาหารความสวยความงาม, การแต่งหน้าแต่งหน้าเทรนด์เกาหลี เป็นต้น ฉะนั้นวันนี้เรามาคุยกันมันไม่ใช่เป็นแค่อุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมหนึ่ง แต่จริง ๆแล้วมันเป็นการผลักดันทำให้คนไทยเข้มแข็งอย่างไร การผลักดันทำให้เราขึ้นไปยืนเท่าเทียมกับเวทีต่างประเทศได้ เราเชื่อว่าคนไทยก็เก่งไม่แพ้ชาติใดในโลกแล้วเราจะช่วยกันกอบกู้วิกฤตในครั้งนี้ได้ยังไง”

คุณยงยุทธ ทองกองทุน ได้พูดถึงการจำนวนรวมของบุคลกรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยว่า “จำนวนรวมของอุตสาหกรรมภาพยนตร์นะครับ มีประมาณ 2 แสนคน ตั้งแต่ต้นน้ำการผลิตลงไปถึงปลายทางที่จะรับชม ถ้าตลาดขยายเพิ่มขึ้น การสร้างงานจำนวนตำแหน่งงานก็มีเพิ่มขึ้นแน่นอน”

คุณเกียรติกมล เอี่ยมพึ่งพร กล่าวเสริมว่า “อยากให้ภาครัฐได้สนับสนุนถึงข้อจำกัดในการทำภาพยนตร์ ให้ไปถึงวงการต่าง ๆได้ อย่างเช่น ตอนนี้วงการบันเทิงเกาหลีก็มีการทำคอนเท้นท์เกี่ยวกับแพทย์มากขึ้น ซึ่งแพทย์ไทยก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก ถ้ามีการให้โจทย์มาก็คิดว่าวงการบันเทิงไทยก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งคำว่าวัฒนธรรมไม่จำเป็นต้องเป็นวัฒนธรรมโบราณอีกต่อไป จะเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่จะเราจะดึงดูดและเปิดให้คนทั่วโลกให้เข้ามา”

คุณธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

คุณธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร “ในฐานะที่เป็นส.ส. ก็จะเป็นกระบอกเสียงให้กับทางวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย เข้าไปกระตุ้นว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำมันกระทบไปหลายวงมากมันกระทบไปทางวัฒนธรรม การท่องเที่ยว การกระตุ้นเศรษฐกิจ และก็ยังเพิ่มอัตราการจางงานได้อีกอ่ะค่ะ ในส่วนนี้เป็นส่วนที่อยากจะผลักดันในเชิงที่รัฐบาลน่าจะทำได้”

คุณวทันยา วงษ์โอภาษี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

คุณภาดาท์ วรกานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร “ส่วนตัวเชื่อมั่นมากในคำว่า soft power มาก soft power คืออะไร การที่เราสร้างแรงดึงดูดให้คนรวมกันแล้วมีความเชื่อแบบเดียวกันโดยที่ไม่ต้องบังคับ แล้วผลลัพธ์มันจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงความคิดแล้วก็ทัศนคติของคนในชาติแล้วสุดท้ายจากนั้นเนี่ยก็คือการสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มแล้วก็สร้างรายได้ให้กับประเทศได้ อย่างเช่น อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าทำได้ เราเห็นว่ารัฐบาลเค้ามีความมุ่งมั่นและจริงใจในการช่วยในเรื่องนี้ และผลักดันอย่างจริงจังร่วมกับภาคเอกชน เหมือนวันนี้ที่เรามาพูดคุยกัน วันนี้พี่เป็นตัวแทนของภาคเอกชนและอุตสาหกรรมหนังที่ได้รับผลกระทบพวกเรา 3 คนก็อาจจะเป็นตัวแทนของภาครัฐนะคะเราเองเป็นสส สิ่งที่เราทำได้ก็คือวันนี้เรามานั่งรับฟังปัญหาเราเข้าใจปัญหาแล้วเรารวมกันเนี่ยเราสามารถเป็นเสียงสะท้อนเป็นกระบอกเสียงที่จะไปบอกกับทางรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าแล้วมันมีความหวังถ้าเราออกแรงดันกันอีกสักนิด รัฐบาลให้ความจริงจังสนใจหรือใส่เงินลงมาสร้างให้มันเป็นแนวทางของยุทธศาสตร์ของชาติอีกด้านหนึ่งเชื่อจริง ๆ ค่ะว่าเราไปได้เพราะว่าเรามีคุณภาพอยู่แล้วหล่อๆโอกาสที่จะมีคนมาช่วยเราเราเข้าใจปัญหาแล้วเรารวมกันเนี่ยเราสามารถเป็นเสียงสะท้อนเป็นกระบอกเสียงที่จะไปบอกกับทางรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าตรงนี้มันมีครบแล้วมันมีความหวังถ้าเราหักดันกันอีกสักนิดรัฐบาลให้ความจริงจังสนใจหรือใส่เงินลงมาสร้างให้มันเป็นแนวทางของเรียกว่าเป็นยุทธศาสตร์ของชาติอีกด้านหนึ่งเป็นการบ้านแล้วก็จะหาช่องทางในการผลักดันต่อไปเราเชื่อว่าเสียงดังพอที่จะมีผู้เกี่ยวข้องได้ยินแน่นอนค่ะ”

คุณสง่า ฉัตรชัยรุ่งเรือง “อยากให้ช่วยกันทำกองทุนตัวนี้ให้มันเกิดขึ้น โดยเอกชนซึ่งเคยทำหนังอยู่ปัจจุบัน ก็จะแสดงความจริงใจของเราด้วย เราก็เลยมองการจัดตั้งลักษณะของถ้าเป็นเมืองนอกก็มีมานานแล้ว ถ้าจะช่วยกันทำตัวนี้ให้มันเกิดขึ้น โดยเอกชนเนี่ยก็จะใส่เงินลงไปประมาณ 60% ทางภาครัฐ 40% เอกชนซึ่งเคยทำหนังอยู่ปัจจุบันตอนนี้อยู่แล้วก็ไม่ได้เป็นการลดสเกลตัวเอง สามารถสร้างแรงดึงดูดให้กับคนในประเทศเรา ที่ไปดูหนังฮอลลีวู้ด หันกลับมาดูหนังไทย ให้มันโตขึ้นได้ แล้วก็สร้างสเกลของอุตสาหกรรมหนังไทย ธุรกิจหนังไทยมันโตขึ้น เพื่อวันหน้าจะมีต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในหนังไทยได้มากขึ้นอีกนะครับ หนังไทยเนี่ยมันไม่ได้สร้างแค่แค่รายได้หนังอย่างเดียว วันนี้เกาหลีใต้ ยังสามารถส่งออกผู้กำกับฯ ไปกำกับหนังในจีน กำกับหนังทั่วโลก นำเงินกลับเข้าประเทศมหาศาลนะครับ ตัวดาราเอง ตัวคนเขียนบท เค้า export ได้หมดเลย ซึ่งขณะนี้ด้วยความที่เรามีหนังจำนวนน้อย เราก็มีการฝึกฝนน้อย วันหน้าถ้ากองทุนนี้เกิดขึ้น เราทำได้ปีนึง 40-50 เรื่อง ก็จะมีทักษะมากขึ้น ก็สามารถที่จะเก่ง แล้วก็สามารถที่จะทำเช่นนั้นได้ ในวันนี้จะทำอย่างไร เราจะเริ่มต้นกันให้ได้ตรงนี้ก่อนนะครับ แล้วจากนั้นถ้ามีหนังจำนวนมากขึ้น ผมว่ามันเป็นเรื่องของการจ้างงานแน่นอน”

คุณวิชา พูลวรลักษ์

คุณวิชา พูลวรลักษ์ กล่าวปิดท้ายว่า “วันนี้ฟังแล้วดีใจครับ ก็อยากจะเห็นว่าภาครัฐใช้อุตสาหกรรมเรานะครับ ถือว่าเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติในการสร้างงาน สร้าง creative economy ใช้ตัวนี้เป็นสินค้าที่จะดึงคนเข้ามาในประเทศเราด้วย ผมก็ขอขอบคุณ ส.ส. ทั้งสามท่านที่มารับฟังปัญหาในวันนี้ด้วยนะครับ”

จะทำอย่างไรเมื่อหนังไทยติดโควิด!!!

หลังจากเสวนาเสร็จสิ้นทั้งหมดก็ถ่ายภาพร่วมกัน และตัวแทน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่นำโดย คุณวทันยา วงษ์โอภาษี รับปากจะรวบรวมข้อมูลและนำเสนอรัฐบาล ผลักดันในเกิดกองทุนภาพยนตร์แห่งชาติต่อไป

Facebook Comments
ติดต่อ Maganetthailand.com
Don`t copy text!