เดอะ นัน II
แนว Horror, Mystery, Thriller
เข้าฉาย 7 กันยายน 2566
ผู้กำกับ Michael Chaves
นักแสดง Taissa Farmiga, Jonas Bloquet, Storm Reid
นิว ไลน์ ซีเนม่าพานทุกคนสู่ผลงานสยองขวัญสุดตื่นเต้นในเรื่อง “The Nun II” ภาคต่อจากเรื่องราวของ “The Nun” ที่กวาดรายได้สูงสุดด้วยตัวเลข 2 พันล้านเหรียญในจักรวาล “The Conjuring” ซึ่งปีนี้จะเป็นการฉลองครบรอบปีที่ 10
ปี 1956 ประเทศฝรั่งเศส บาทหลวงท่านหนึ่งถูกฆ่าตาย ความชั่วร้ายแพร่กระจายตัว เรื่องราวต่อเนื่องจากผลงานที่สร้างความโด่งดังไปทั่วโลกของซิสเตอร์ไอรีน เมื่อเธอต้องเผชญหน้ากับวาแล็คแม่ชีในร่างผีอีกครั้ง
เทสซา ฟาร์ไมกา (“The Nun,” “The Gilded Age”) กลับมารับบทซิสเตอร์ไอรีน ร่วมงานอีกครั้งกับโจนาส โบลเคต์ (“Tirailleurs,” “The Nun”) รับบทเมารีซ พร้อมด้วยสตรอม รี้ด (“Missing,” “The Suicide Squad”) ในบทซิสเตอร์เดบรา, แอนนา พอพเพิลเวลล์ (“Reign,” ภาพยนตร์ไตรภาค “The Chronicles of Narnia”) ในบทเคทและบอนนี่ อารอนส์ (กลับมารับบทเดิมจากเรื่อง “The Nun”) พร้อมด้วยทีมนักแสดงที่มากความสามารถาจกต่างประเทศอย่างเคทลิน โรส ดาวนีย์ (“The Princess”) ในบทโซฟี, ซูซาน เบอร์ทิช (“Dead Ringers”) ในบทมาดาม ลอว์เรนท์, ลีอองทีน ดิ’อองเซียว (“Two Tickets to Greece”) ในบทไซโมน, อานุค ดาร์วิน โฮมวูด (“The Flood”) ในบทซีเลสต์ และ กาเอล เรส์ (“Simone: Woman of the Century”) ในบทเซดริค
ไมเคิล ชาเวส (“The Conjuring: The Devil Made Me Do It”) กำกับฯ จากบทของเอียน โกลด์เบิร์ก และ ริชาร์ด แนอิ้ง (“Eli,” “The Autopsy of Jane Doe”) และอาคีล่า คูเปอร์ (“M3GAN,” “Malignant”) เนื้อเรื่องโดยคูเปอร์ สร้างอิงจากตัวละครของเจมส์ วาน และ แกรี่ ดาวเบอร์แมน
The Safran Company ของปีเตอร์ ซาฟรานและ Atomic Monster ของเจมส์ วาน ผลิตผลงานพร้อมด้วยความร่วมมืออย่างต่อเนื่องจากผู้สร้างภาพยนตร์ในโปรเจ็กต์ที่ผ่านมาของ “Conjuring” ผลงานเรื่อง “The Nun II” อำนวยการสร้างบริหารฯ โดยริชาร์ด บรีเนอร์, เดฟ นิวสแตดเตอร์, วิคตอเรีย พัลเมรี่, แกรี่ ดาวเบอร์แมน, ไมเคิล เคลียร์, จัดสัน สก็อตต์ และ ไมเคิล โพแลร์
ผู้ร่วมงานกับชาเวสเบื้องหลัง ได้แก่ ผู้กำกับภาพ ทริสแทน ไนบี (“The Dark and the Wicked,” “The Maiden”), ผู้ออกแบบฉากฯ สเตฟานี เครสเซนด์ (“Les Vedettes,” “The French Dispatch”) ผู้ลำดับภาพ เกรกอรี่ พล็อตคิน (ภาพยนตร์ปี 2022 เรื่อง “Scream,” “Get Out”) และผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย แองเนส เบเซียร์ส (“Oxygen,” “The Breitner Commando”) พร้อมด้วยผู้ประพันธ์ดนตรี มาร์โค เบลทรามิ (ผลงานปี 2022 เรื่อง “Scream,” ”Venom: Let There Be Carnage”) และผู้ควบคุมดนตรี เอียน บรูเคก (“The Conjuring: The Devil Made Me Do It,” “Warriors”)
จักรวาล “The Conjuring” สร้างผลงานแฟรนไชส์สยองขวัญที่กวาดรายได้สูงสุดในประวัติศาสตร์ที่ 2+ พันล้านเหรียญทั่วโลก ภาพยนตร์ในจักรวาล “The Conjuring” ทั้ง 4 เรื่องกวาดรายได้ทั่วโลกไปมากกว่า 300 ล้านเหรียญ (“The Nun,” 366 ล้านเหรียญ ; “The Conjuring 2” 322 ล้านเหรียญ; “The Conjuring” 320 ล้านเหรียญ; “Annabelle: Creation” 307 ล้านเหรียญ) และทั้ง 7 เรื่องกวาดรายได้ไปมากกว่า 200 ล้านเหรียญ เรื่อง “The Nun” กวาดรายได้สูงสุดในแฟรนไชส์ที่มากกว่า 366 ล้านเหรียญทั่วโลก
นิว ไลน์ ซีเนม่า นำเสนอผลงานจาก an Atomic Monster / Safran Company เรื่อง “The Nun II” จัดจำหน่ายทั่วโลกโดยวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส มีกำหนดเปิดตัวทางอเมริกาเหนือวันที่ 8 กันยายน 2023 และต่างประเทศเริ่มวันที่ 6 กันยายน 2023
รายละเอียดการถ่ายทำ
ร่วมพูดคุยกับทีมนักแสดง:
เทสซา ฟาร์ไมก้า กลับมารับบท ซิสเตอร์ไอรีน ผู้หวังว่าเธอจะปราบวาแลคได้…
บทภาพยนตร์…
เทสซา ฟาร์ไมก้า: “สิ่งที่ฉันรักมากในบทเรื่องนี้คือมิตรภาพอันงดงามระหว่างตัวละครหญิงทั้ง 2 ที่มอบพลังให้กัน สตรอม [รี้ด] รับบทซิสเตอร์เดบรา หญิงสาวที่หาจุดยืนของตัวเองบนโลกใบนี้ไม่เจอ เธอรู้สึกหลงทาง และความงดงามอยู่ที่รายละเอียดในบทของตัวละครต่างๆ ที่เขียนขึ้นนมา ทำให้พวกเขามีโอกาสถ่ายทอดความเป็นมนุษย์ได้อย่างสมจริง ฉันคิดว่าการมีโอกาสร่วมงานกันตั้งแต่แรกเริ่มช่วยให้ตัวละครดูสมจริง มีสีสัน และมีความซับซ้อนค่ะ
“โทรปส์ไม่ใช่คนจริงๆ ฉันคิดว่าความงดงามของบทเรื่องนี้ ทำให้ถ่ายทอดความเป็นหญิงสาวที่มีความมั่นใจ รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร ไม่ต้องการให้ใครมาสั่งออกมาได้ค่ะ ซึ่งไม่ใช่กับซิสเตอร์ไอรีนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงซิสเตอร์เดบราด้วย”
สถานที่…
เทสซา ฟาร์ไมก้า: “เรียกว่าเป็นความพิเศษมากที่สามารถถ่ายทำบนสถานที่จริงตามเนื้อเรื่องได้ และเราโชคดีที่ได้มาอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ใน Aix-en-Provence, Tarascon, Martigues และ Marseille… เป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่มากค่ะ ฉันคิดว่าคุณจะสัมผัสได้ถึงความหดหู่และความหลอนของที่นั่น แต่ยังได้เห็นความงดงามของทัศนียภาพไปด้วย การได้ถ่ายทำในสถานที่ที่จับต้องได้จริงก็ทำให้เรามีพลังในบางครั้ง เพราะมันเป็นเรื่องยากที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ในโรงถ่าย
“เราได้พบกับความดงามทางตอนใต้ของฝรั่งเศส สถานที่ต่างๆ ทำให้เราสัมผัสได้ถึงความยากลำบากและน่ากลัว ที่ Aix-en-Provence เหมือนกับเมืองที่น่ารัก เราพบกับเมืองนี้ที่แผนกศิลป์สามารถปรับเปลี่ยนบรรยากาศได้ มันไมใช่เรื่องง่ายเพราะเราต้องแปลงโฉมที่นั่น เราต้องใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วแต่ปรับสภาพความรู้สึกโบสถ์ที่มีความเก่าแก่แห่งนี้เป็นโรงเรียน ซึ่งต้องดูไม่ใหม่จนเกินไป เราต้องสร้างสมดุลขึ้นมา… ฉันคิดว่าเราโชคดีมากค่ะที่เจอสถานที่และมีทีมงานที่มีพรสวรรค์ รวมถึงแผนกศิลป์ที่ช่วยทำให้ฉากของเราดูน่ากลัวอย่างงดงาม”
การเดินทางข้ามเวลา…
เทสซา ฟาร์ไมก้า: “ฉันรู้สึกเหมือนเราได้เข้าไปอยู่ที่ฝรั่งเศสยุค 50 จริงๆ เลยค่ะ โดยเฉพาะตอนถ่ายทำบนท้องถนนเล็กๆ ในทาราสคอน ตรอกซอกซอยทั้งเล็กและมีพื้นที่น้อย ผู้ชมอัดแน่นกันอยู่ในนั้น และเวลาพวกเขาสั่ง ‘แอคชัน’ ทุกคนที่สวมชุดของตัวเองเรียบร้อยก็จะวิ่งมา ทุกอย่างดูงดงามมากค่ะ และปริมาณควันก็กำลังดี มันช่วยสร้างบรรยากาศที่ลงตัว สำหรับฉันรู้สึกสนุกเพราะซิสเตอร์ไอรีนกล่าวคำสาบานไว้ในหนังภาคล่าสุด เธอกลายเป็นแม่ชีอย่างเต็มตัว ต้องสวมชุดแม่ชีและนั่นคือบทบาทหน้าที่ของเธอ ความสนุกอยู่ที่ได้อยู่ในบรรยากาศที่ทุกคนสวมเสื้อผ้าอีกแบบและเหมือนย้อนเวลาไปได้จริงๆ”
พูดถึงไมเคิล ชาเวส…
เทสซา ฟาร์ไมก้า: “ไมเคิล ชาเวสเป็นผู้กำกับฯ ที่น่าทึ่งมากค่ะ พอรู้ว่าเขาจะกำกับฯ เรื่องนี้ฉันตื่นเต้นมากเลย ฉันได้อ่านบทและประชุมกันทาง Zoom ตั้งแต่ช่วงแรกที่เราพูดคุยกัน เขาเป็นคนเปิดรับความเห็นมาก อยากให้โปรเจ็กต์ออกมาดีที่สุด เป็นการร่วมงานกันที่ฉันได้มีส่วนร่วมจริงๆ ฉันไม่ใช่คนที่ชอบพูดว่า ‘ทุกอย่างมันต้องเป็นแบบนี้’ ฉันรักการร่วมงานกับคนที่พร้อมรับฟังความเห็นในการร่วมงานกัน คิดว่านั่นคือจุดเด่นของชาเวสอย่างหนึ่งในฐานะผู้กำกับฯ ค่ะ เขาทำหน้าที่กำกับไปด้วย ไม่ชอบการเสียเวลาซึ่งเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม เขามักจะไม่มองข้ามช่วงเวลาปัจจุบัน รวมถึงภาพโดยรวมขนาดใหญ่ ทำให้ฉันรู้สึกว่ามีความสำคัญมากโดยเฉพาะในหนังเหล่านี้ เขาให้ความสำคัญกับความเห็นของทีมงาน นักแสดง และมุมมองที่เรามีต่อตัวละครต่างๆ เขามอบอิสระให้เราพูดกับเขาได้ว่า ‘ประโยคนี้ฉันคิดว่าต้องแก้หน่อยนะ มันดูไม่ลงตัว มันไม่ควรพูดแบบนั้น…’ เขาจะตอบทันทีว่า ‘คุณรู้สึกอย่างไรกับมัน?’ การร่วมงานกันแบบนั้นโดยเฉพาะตัวละครที่ฉันใช้เวลานาน… ในการถ่ายทำเมื่อหลายปีก่อน จากนั้นคุยกันเรื่องความกดดันของเธอ มีการกลับไปดูหนังและค่อยกลับมาอีกครั้ง ฉันรู้สึกเคารพซิสเตอร์ไอรีนนะคะ เราจะถ่ายทอดเธอออกมาอย่างถูกต้องและจะร่วมมือกันอย่างไร? ฉันรักการทำงานร่วมกับชาเวสค่ะ เขาเป็นคนดีและผู้กำกับฯ ที่เก่งมาก”
ระยะเวลา 4 ปีนับตั้งแต่เรื่อง “The Nun” …
เทสซา ฟาร์ไมก้า: “ฉันรู้สึกไม่ชอบพวกเครื่องมือที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน ฉันคิดว่าไอรีนคงอยากพูดว่า ‘ห่างกันไปเดี๋ยวก็ลืม’ ฉันคิดว่าลึกๆ แล้วไอรีนรู้ว่ามันจะไม่เป็นแบบนั้น ความผูกพันกันแน่นแฟ้นมาก คิดว่าไอรีนเป็นคนที่คิดสงสัยตลอด ‘เธอดีพอหรือเปล่า?’ เธอเดินทางมารับพร แตก็ต้องรับหน้าที่อันยิ่งใหญ่อย่างการขับไล่ปีศาจ ฉันคิดว่าด้วยหน้าที่ของเธอทำให้หวาดกลัวในทุกวันเป็นเวลาหลายปีที่ผ่านมา เพราะเธอไม่สามารถจัดการได้อย่างที่ควรจะเป็น
“เป็นช่วงเวลา 4 ปีตั้งแต่หนังภาคแรก ไอรีนและเฟรนชีต้องอายุมากขึ้นแน่นอน พวกเขาดูเปลี่ยนแปลงไปพอควร ฉันพูดได้เลยว่าพวกเขามีความรู้สึกที่ชัดเจนขึ้นในเรื่องนี้ มันเป็นการเติบโตที่เกิดขึ้นหลังเราผ่านเรื่องราวเลวร้าย ถ้าไม่ผลักดันเราก้าวไปข้างหน้าก็เป็นการถอยหลังกลับมา ฉันคิดว่าไอรีนต้องก้าวไปข้างหน้าไม่ต่างจากเฟรนชี ไอรีนในภาคแรกตั้งข้อสงสัยหลายเรื่อง และไม่แน่ใจวาเธอจะเหมาะกับโลกใบนี้มั้ย ฉันคิดว่าเมื่อเราได้พบกับไอรีนในเรื่องนี้ครั้งแรก จะเห็นเธอแข็งแกร่งขึ้น สัมผัสได้ถึงออร่าแห่งความมั่นใจที่อยู่รอบตัวเธอ เธอยังเป็นคนใจดีและน่ารักเหมือนภาคแรก แต่เธอไม่อ่อนต่อโลกอีกต่อไปแล้ว”
การร่วมทีมกัน…
เทสซา ฟาร์ไมก้า: “ครั้งแรกไอรีนปฏิเสธ จากนั้นภาพที่เธอเห็นบอกกับเธอว่านี่คือสิ่งที่เธอต้องทำ เธอสัมผัสได้ว่าต้องยอมรับมัน เธอกลัวที่จะต้องเผชิญหน้าเพียงลำพัง แต่เธอต้องการทำสิ่งที่ถูกต้องจึงเดินวางแผนสู่เส้นทางนี้เพียงลำพัง ฉันคิดว่าการมีใครสักคนอย่างซิสเตอร์เดบรา ผู้ไม่ลงมือจัดการทันทีเมื่อรับรู้อะไรมา คือตัวช่วยอย่างดีในฐานะของพาร์ทเนอร์ มันคือภารกิจการทำงาน แต่อีกส่วนหนึ่งก็เหมือนการเดินทางกับเพื่อนที่พูดว่า ฉันไม่รู้ตัวเองทำสิ่งที่ถูกต้องไหม’ มันยากที่จะรับมือทุกเรื่องในชีวิตโดยลำพังค่ะ
“ครั้งแรกที่ได้อ่านบท ฉันตื่นเต้นกับมิตรภาพของสาวๆ และเรื่องราวระหว่างซิสเตอร์ไอรีนกับซิสเตอร์เดบรา การร่วมงานกับสตรอมคือเรื่องเหลือเชื่อค่ะ ฉันรู้สึกว่าเธอถ่ายทอดความกล้าสู่เดบราได้ ฉันคิดว่าตัวละครเด็กสาวแบบนั้นจะเขียนให้ดูเฉยชาหรือมองหาคำแนะนำอื่นก็ทำได้ ฉันว่าสตรอมถ่ายทอดเดบราออกมาอย่างมีเสน่ห์ชัดเจน เธอเป็นทั้งเพื่อนร่วมงาน พาร์ทเนอร์ ที่พร้อมจะปกป้องเราอย่างแท้จริงเมื่อเกิดเหตุร้าย หรืออย่างครั้งนี้ที่ไม่ใช่เหตุร้าย เพราะเราคือผู้สร้างความดีงาม [หัวเราะ]”
ปริศนาเดอะ มอริส…
เทสซา ฟาร์ไมก้า: “ฉันคิดว่าสิ่งหนึ่งที่ทำร้ายจิตใจมากในภารกิจนี้คือไอรีนรู้ว่าเธอต้องจัดการเพื่อนของตัวเอง… แต่เธอต้องจัดการเพื่อนตัวเองผู้ที่เป็นศัตรูของเธอด้วยเช่นกัน ไอรีนไม่แน่ใจว่าวาแลคสิงในร่างมอริสได้อย่างไร เธอเข้าใจเรื่องการเข้าสิง มันเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก็ควบคุมวิญญาณและชนะทุกอย่างได้แล้ว เหมือนจะเป็นร่างมนุษย์แต่ไร้วิญญาณไปแล้ว ส่วนปีศาจตนนี้อยู่ในร่างมอริสและควบคุมทุกอย่าง เลยเห็นภาพไม่ชัดเจนนักว่าไอรีนต้องการทำอะไรกันแน่ เธอหวังว่าจะช่วยเพื่อนได้ หวังว่าจะขับไล่เขาออกไปได้ และมอริสจะเป็นคนเดิมที่เธอรู้จักและรักเสมอมา แต่ฉันคิดว่าการเดิมพันสูงเกินไป สุดท้ายเธอจะยอมสละชีวิตของเพื่อนเพื่อช่วยคนอื่นรอบตัวไหม?”
การร่วมงานกับโจนาส โบลเก้…
เทสซา ฟาร์ไมก้า: “ฉันรักเขานะคะ ทุกคนรักเฟรนชี เขาคือชาวฝรั่งเศสแคนาเดียนที่น่ารักของพวกเขา เขาเต็มไปด้วยเสน่ห์ในทุกมุมของตัวละครนี้ และถ่ายทอดความเป็นมนุษย์ออกมาได้ด้วย ฉันคิดว่าผู้ชมจะต้องรักเมารีซในมุมใหม่ โดยเฉพาะความงดงามที่เขามีร่วมกับเคท [รับบทโดยแอนนา พอปเพิลเวล] และโซฟี [รับบทโดยเคทลิน โรส ดาวนีย์] ซึ่งพบกันที่เซนต์ แมรี่ ฉันรักการร่วมงานกับโจนาสค่ะ เรามีช่วงเวลาดีๆ กันเสมอ เขาเป็นทั้งนักร้องและนักเต้นที่เก่ง แถมยังเพลินเวลาเห็นเขาเต้นตรงทางเดินของเซนต์ แมรี่ ร้องเพลงและเต้นระหว่างถ่ายทำ บอกจากใจเลยว่ามันสนุกมากค่ะ”
โจนาส โบลเก้ กลับมารับบทเมารีซ คนเดียวที่รอดชีวิตจากบรรดาผู้เผชิญหน้ากับวาแลค…
ความรู้สึกของโลกที่ปิดตาย…
โจนาส โบลเก้: “สำหรับผมรู้สึกเหมือนฉากที่อยู่เบื้องหลังประตูที่ปิดไว้ เพราะทุกเหตุการณ์เกิดขึ้นในโรงเรียนนั้น มันรู้สึกใกล้เคียงกับโลกภายนอกมากๆ และผมคิดว่าการเปลี่ยนฉากความสยองที่เกิดขึ้นในโรงเรียนนั้นกับผู้หญิงที่ไร้เดียงสาทำออกมาได้ดีมาก เพราะจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเธอหากวาแลคถูกปล่อยออกมา?”
สถานที่ถ่ายทำ…
“ที่ Aix-en-Provence เป็นเมืองเก่าแก่ เต็มไปด้วยตึกเก่าๆ เป็นสถานที่งดงามมีเรื่องราวมากมาย ผมมั่นใจว่าเราจะสัมผัสได้บนกล้อง การได้อยู่ในสถานที่นั้นมันดีกว่าสตูดิโอมาก บางฉากเราถ่ายทำที่สตูดิโอ แต่เรามักจะเลือกสถานที่จริงเสมอ เพราะให้ความรู้สึกสมจริงมากกว่าและมีการผจญภัยกันมากกว่า”
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเมารีซ…
โจนาส โบลเก้: “ช่วง 4 ปีต่อมา พวกเราอยู่ที่ตอนใต้ของฝรั่งเศสใน in Aix-en-Provence และเมารีซทำงานเป็นผู้ดูแลในโรงเรียนของเด็กๆ เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็นอะไร ไม่รู้ว่าถูกวาแลคเข้าสิง จนกระทั่งเขาป่วยและมีอาการเหมือนลมชัก แต่เขาไม่เข้าใจอะไรเลย พยายามใช้ชีวิตต่อไปเรื่อยๆ จนได้พบกับ เคท [รับบทโดยแอนนา พอปเพิลเวล] เขาคิดว่าตัวเองชอบเธอมาก พยายามประคองชีวิตตัวเองต่อไป ลืมเรื่องเลวร้ายในอดีตรวมถึงเรื่องราวก่อนโรมาเนีย
“ทั้ง 2 ช่วงของเมารีซ เฟรนชีผู้น่ารักอย่างที่เราคุ้นเคย และเมารีซผู้น่ากลัวในรูปแบบใหม่ ทั้งหมดเป็นความท้าทายสำหรับผมในเรื่องความต่อเนื่อง เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากที่ต้องหาความสมดุลระหว่างทั้ง 2 ร่างนั้น ต้องมีการเตรียมตัวและลองแสดงหน้ากล้อง ซึ่งผมหวังว่ามันจะออกมาดี หวังว่าตัวเองถ่ายทอดไปอย่างชัดเจนและมีสติดี”
เหตุผลที่เรารักเมารีซ…
โจนาส โบลเก้: “ผมคิดว่าเขาเป็นคนที่ผู้ชมรักมาก เพราะในภาคแรก [‘The Nun’] อย่างน้อยเขาคือตัวละครที่เราเข้าใจง่าย เขาหวาดกลัว ไม่มีความกล้าขนาดนั้น ดูแล้วเข้าใจง่าย เป็นคนสนุกสนาน มีเสน่ห์ เขาน่าจะมีความเป็นมนุษย์มากกว่า 2 ตัวละครหลักที่ดูเป็นฮีโร่ด้วยซ้ำ”
พูดถึงเคท…
โจนาส โบลเก้: “เคทเป็นคุณครูที่โรงเรียน เธอเป็นแม่ของโซฟีด้วย [รับบทโดยเคทลิน โรส ดาวนีย์] เธอคือคนรักของเมารีซและผมคิดว่าเมารีซตกหลุมรักเธอแทบจะทันที แต่จากการตกหลุมรักเริ่มกลายเป็นความสัมพันธ์จริงจังสำหรับเธอ พราะผมคิดว่าทั้งคู่ผ่านเหตุการณ์หลายเรื่องในอดีต รู้สึกเข้าใจกันเหมือนคนหลงทางที่พบกัน นั่นเป็นเรื่องที่วิเศษมากครับ”
การปกป้องเมารีซ…
โจนาส โบลเก้: “ผมเป็นนักแสดงนำชายเพียงคนเดียวในเรื่อง รายล้อมด้วยผู้หญิง 4 คนที่ต่างกัน ทุกคนต้องพยายามช่วยผม เหมือนผมเป็นผู้หญิงที่อยู่กับความลำบากเลยครับ ผมคือผู้ชายที่ต้องอยู่กับความเศร้าและผมก็รักมัน ผมคิดว่าเราเบื่อที่เจ้าชายรูปงามต้องปกป้องเจ้าหญิงแล้ว นี่คือการฉีกกฎและปรับบทบาทกันครับ”
สตรอม รี้ด รับบทซิสเตอร์เดบรา ผู้นำพาไอรีนสู่การเดินทางของเธอ…
การพบกับเดบรา…
สตรอม รี้ด: “เดบราเป็นผู้หญิงแกร่งและมั่นใจจากมิสซิสซิปปี้ เธอมาจากทางตอนใต้ ร่วมการผจญภัยนี้ไปกับซิสเตอร์ไอรีนเพื่อเอาชนะปีศาจร้าย เธอมีความเข้มแข็ง มั่นใจ ผ่านอะไรมาหลายอย่าง สภาพครอบครัวของเธอไม่ได้ราบรื่น ในการเดินทางครั้งนี้เธอมีความรู้สึกที่ชัดเจนอย่างที่ทุกคนคาดไม่ถึง แต่ฉันชื่นชมในความเข้มแข็งของเธอนะคะ คิดว่าเป็นตัวละครที่เท่มากเลย
“เธอพยายามจะเป็นแม่ชี เพราะพ่อของเธอส่งตัวมา ส่วนพี่ชายก็เข้ากองทัพ คุณแม่ของเธอเสียชีวิตแล้ว ไม่มีทางเลือกอื่นสำหรับเธอเลย เพราะเธอไม่มีเงินจะไปโรงเรียน… พ่อจึงส่งเธอมาเข้าสำนักแม่ชีซึ่งฉันไม่คิดว่าเธอจะรักที่นั่นหรอกนะคะ เธอไม่เคยมองภาพตัวเองไว้แบบนั้น ผู้หญิงวัย 21 ปีต้องอยู่บนเส้นทางแบบนี้ แต่เธอก็ยอมรับมัน พยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุด”
ความแตกต่างในการเผชิญหน้ากับปีศาจ…
สตรอม รี้ด: “ฉันคิดว่าเดบราเป็นคนเข้มแข็งค่ะ เธอโตในยุค 50 ทางตอนใต้ของอเมริกา และได้เห็นความแตกต่างกันของความชั่วร้าย 2 แบบ ที่เคยเจอคือความชั่วร้ายหลังบ้านจากการเหยียดเชื้อชาติและการแบ่งแยก เธอต้องต่อสู้และยืนหยัดเพื่อตัวเอง… เพื่อให้เธอมีตัวตนและมีปากเสียง ฉันคิดว่าสิ่งที่เธอพบที่บ้านหรือทางตอนใต้ ทุกอย่างจะไม่ได้สวยหรู เธอต้องเผชิญกับความยากลำบาก เธอต้องเข้มแข็งพอที่จะผ่านสภาพนั้นมาด้วยตัวเองและนำความแกร่งนั้นมาที่ Aix-en-Provence เพื่อเอาชนะปีศาจร้าย”
การร่วมมือกับซิสเตอร์ไอรีน…
สตรอม รี้ด: “ฉันคิดว่าเดบรารู้ดีไอรีนมีความพิเศษ เธอรู้ว่าตัวเองมีความพิเศษจริงๆ และเป็นแม่ชีที่มีพลังอย่างที่เคยได้ยินมา แต่ฉันคิดว่ามันเป็นความรู้สึกที่เข้ากันได้ ไอรีนอายุน้อยกว่าแม่ชีคนอื่น เธอเลยรู้สึกสนิทกันในมุมนั้น เธอคิดว่าตัวเองแน่ เข้มแข็ง และอย่างที่ฉันพูดเอาไว้ว่าสุดท้ายเธอพบว่าตัวเองมีอะไรเหนือกว่าที่คิดเอาไว้ แต่พวกเธอก็สนิทกันดีค่ะ เข้ากันได้ดีตั้งแต่ในช่วงแรก และทุกอย่างได้พัฒนาขึ้นจากการผจญภัย
“สเตอร์ไอรีนรู้สึกฝืนใจที่ต้องให้เดบรามาร่วมเดินทางด้วย… ในมุมที่ดีนะคะ ฉันก็คงอึดอัดที่ต้องชวนใครมาเจอเรื่องแบบนี้ โดยเฉพาะคนที่ยังอายุน้อยอย่างพวกวัยรุ่น แต่อย่างที่ฉันบอกไว้ เดบราเป็นคนเข้มแข็ง เธอรู้ว่าจะมอบความเข้มแข็งให้ไอรีนได้หากเกิดอะไรขึ้น และเดบราเคยผ่านหลายเรื่องราว แม้จะไม่ใช่การเดินทางแบบนี้ แต่การสูญเสียแม่ ต้องเจอเรื่องเลวร้ายในชีวิต เธอรู้ดีว่าอย่างน้อยจะมอบพลังและช่วยเหลือไอรีนได้แน่ เธอต้องการแบบนั้น เพราะนั่นคือสิ่งที่ทำให้แม่ไม่ได้”
ความเข้มแข็งของทั้งคู่…
สตรอม รี้ด: “มีการพูดไว้ในหนังว่า ‘เหล่าแม่ชีจัดการทุกอย่าง ส่วนบาทหลวงได้รับคำชมนั้นไป’ ฉันรู้สึกว่าเดบราและไอรีนไม่ต้องการคำชมใด พวกเธอแค่ทำหน้าที่ตัวเอง พวกเธออยากทำเรื่องดีงาม อยากช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ ไม่ได้มองหาคำชมใดๆ พวกเธอพบความอุ่นใจและความสงบในตัวเองจากสิ่งที่ทำในเหตุการณ์ต่างๆ และหวังว่าจะช่วยคนรอบตัวได้ ปกป้องตัวเองได้และสุดท้ายจะชวยเมาริซได้”
เทสซา ฟาร์ไมก้า…
“เทสซาเหมือนกับความฝันเลยค่ะ เธอมหัศจรรย์มาก เป็นนักแสดงที่เก่ง แต่ก็มีความเท่และน่ารักในตัวด้วย นับเป็นเรื่องดีที่ได้ร่วมงานกับคนน่ารักค่ะ เธอหัวเราะตลอดเวลา สนุกสนานตลอด และ… ฉันได้เห็นพรสวรรค์ของเธอ ความสดใสเวลาที่ไมเคิลสั่ง ‘แอคชัน’ ฉันชื่นชมการทำงานของเธอ และเป็นคนที่ร่วมงานด้วยแล้วสนุกมากค่ะ หวังว่ามิตรภาพของเราและความผูกพันจะยาวนานกว่าเรื่อง ‘The Nun II’”
แอนนา พอปเพิลเวล ผู้รับบทเคท คุณครูในโรงเรียนที่ต้องมาร่วมในภารกิจของไอรีน …
สิ่งแรกสุดคือบทภาพยนตร์…
แอนนา พอปเพิลเวล: “ฉันคิดว่านักเขียนสร้างบทออกมาได้สวยงามมากค่ะ เพราะมีช่วงที่ตกใจจนสะดุ้งหลายครั้ง แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่อยู่เบื้องหลังคือมีการพัฒนาตัวละครเยอะมาก มีบทพูดมากมาย ตัวละครเหล่านี้มาจากจุดที่ต่างกัน ฉันรู้สึกชื่นชมมากค่ะระหว่างที่อ่านบท บางครั้งเราอ่านบทหนังสยองขวัญมีแต่ความน่ากลัว ฉันว่าเรื่องนี้มีอะไรหลายอย่าง มีหลายเรื่องราวเกิดขึ้นในเรื่องค่ะ”
ความรักในที่ทำงาน…
แอนนา พอปเพิลเวล: “เคทและเมาริสต่างทำงานที่ St. Mary ค่ะ เคทเป็นคุณครู ส่วนเมาริสเป็นผู้ดูแลซ่อมแซมสิ่งต่างๆ ฉันคิดว่าเคทพยายามไม่สนใจอะไรเมาริส เธอเคยผ่านอดีตที่วุ่นวายเกี่ยวกับผู้ชายและจบไม่สวยมาก่อน เธอกับโซฟีลูกสาวของเธอสนิทกันมาก และคิดว่าเคทไม่ยอมให้ใครมาทำลายความพิเศษนั้นไป ครั้งแรกที่เราเห็นเมาริสกับเคทพูดคุยกันจะค่อนข้างระวังตัวนิดหน่อย พอเวลาผ่านไปได้ใช้เวลาร่วมกัน เคทเริ่มเปิดใจมากขึ้น มีการจีบกันบ้างจนค่อนๆ เริ่มรู้สึกรัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ขวางทางการสิงของปีศาจพอควร [หัวเราะ]”
สาวๆ ที่ทำงาน…
แอนนา พอปเพิลเวล: “ฉันคิดว่าคงมีหลายครั้งที่คุณดูหนังสยองขวัญเห็นบทของผู้หญิงมักจะดูน่าสงสาร ไม่ค่อยเห็นแบบนี้สักเท่าไหร่ จนมีคำที่พูดกันบ่อยๆ ว่า ‘แม่ชีคือผู้จัดการทุกอย่าง ส่วนบาทหลวงได้รับคำชมนั้นไป’ มันเป็นการชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงคือผู้อยู่เบื้องหลังทั้งเรื่อง มีผู้หญิงที่มีความเข้มแข็งต่างกันมาร่วมมือกันแก้ปัญหา บางมุมพวกเธอก็น่าสงสาร แต่ไม่ได้ดูน่าสงสารอย่างที่เห็นในหนังสยองขวัญทั่วไปแน่ค่ะ”
เบื้องหลังฉากต่างๆ…
แอนนา พอปเพิลเวล: “เราวางแผนถ่ายทำกันแทบจะเรียงตามบทพูดเลยค่ะ หมายความว่าเหมือนเราถ่ายหนังที่มีความแตกต่างกัน บทพูดไม่คล้ายคลึงกัน พอตัวละครมาพบกันและไปถึงตอนจบ เรามาอยู่ร่วมกันในฉากจนถึงช่วงปิดกล้อง ทุกอย่างเป็นประสบการณ์ที่งดงามและมีพลัง ความสดใส บรรยากาศแห่งความสุขจากทุกคน”
เหล่านักแสดงนำหญิง…
“การถ่ายทำร่วมกับเทสซาเจ้าของบทซิสเตอร์ไอรีน… เธอเป็นคนที่สนุกสนานและสดใส มีหลายไอเดีย ดูเป็นคนที่มีความสุขมากเลยค่ะ เธอชอบมองไปรอบตัวและพูดว่า ‘ฉันรักสิ่งนั้น ชอบสิ่งนั้น รักตรงนั้น ชอบที่คุณทำแบบนั้น’ ทำให้บรรยากาศในฉากมีความสุขมาก และการร่วมงานกับสตรอมก็ดีมากเช่นกันค่ะ เธอต้องผ่านหลายอย่างในชีวิต มีความตั้งใจสูงมาก กระตือรือร้น มีไอเดียดีๆ ในฉากตลอด พอรวมพลังกับเคทลิน โรส ดาวนีย์ ผู้รับบทโซฟีแล้วก็ดูวิเศษมากเลย กลายเป็นทีมที่น่ารักไปเลยค่ะ”
โจนาส โบลเก้…
“ฉันรักการร่วมงานกับโจนาสค่ะ คิดว่าเขาสร้างผลงานถ่ายทอดการถูกสิงได้อย่างน่าประทับใจ การเตรียมร่างกายคือสิ่งที่สำคัญสำหรับนักแสดง และจะเห็นว่าเขาเตรียมตัวมาอย่างดีจากการรับบทวาแลคของเขา ฉันรู้สึกว่าได้เรียนรู้หลายอย่างมาจากเขาด้วย เขามีมุมมองแบบผู้กำกับฯ จริงๆ เวลาที่เรากั้นฉาก จัดการสิ่งที่ควรทำ เวลาที่เราฝึกซ้อมกัน ฉันจะเห็นเขาใส่ใจรายละเอียดตลอด กล้องอยู่ตรงไหน จะแสดงออกมาเป็นอย่างไร เราจะพัฒนาจังหวะนั้นได้อย่างไร ฉันมองดูแล้วก็คิดว่า ‘ฉันอยากทำแบบนั้นได้จัง’ เขาเป็นคนน่ารักด้วยค่ะซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยได้เยอะ”
ร่วมพูดคุยกับผู้สร้างภาพยนตร์:
ไมเคิล ชาเวส (Director)
การมีส่วนร่วมในเรื่อง “The Nun II” …
ไมเคิล ชาเวส: “ตอนที่โคริน [ฮาร์ดี้] สร้างเรื่อง ‘The Nun’ คือช่วงเวลาเดียวกับทีผมสร้างเรื่อง ‘The Curse of La Llorona’ จนผมกลายเป็นเพื่อนกับเขาและโจนาส [โบลเก้] และเทสซา [ฟาร์ไมกา] และผมก็ชอบพวกเขามาก ผมรักการทำงานของโครินในหนัง คิดว่าเทสซาและโจนาสเป็นนักแสดงที่เก่ง พวกเขารับบทต่างๆ ได้ดีเยี่ยม พอหลายปีผ่านไปเมื่อ New Line ติดต่อผมมาพร้อมกับบท [Nun II] พวกเขาคือคนแรกที่ผมนึกถึงจากใจ ทั้งเทสซาและโจนาส ผมรักเวลาพวกเขาสวมบทบาทและเรื่องราวการเริ่มต้นของพวกเขา ซึ่งทุกอย่างมันอยู่ในบทนั้นแล้ว แต่ผมคิดว่ามันยังมีอะไรมากกว่านั้น เราพาตัวละครไปได้ไกลกว่านั้น ผมรู้ว่าพวกเขาสร้างความพิเศษขึ้นมาได้”
เหล่าฮีโร่ในเรื่อง…
ไมเคิล ชาเวส: “ผมชอบเรื่องราวของหญิงแกร่ง คุณแม่ของผมเป็นซิงเกิลมัม ผมรักคุณแม่ที่เข้มแข็งในเรื่องต่างๆ และในเรื่อง ‘The Curse of La Llorona’ จะเห็นรายละเอียดเรื่องนั้น จากนั้นมาถึงเรื่องราวของซิสเตอร์รีน ไอเดียของ 2 แม่ชีที่ต้องรับภารกิจ เดินทางข้ามยุโรปและต่อสู้กับปีศาจร้ายนี้ ผมคิดว่ามันมีความน่าตื่นเต้นและเนื้อเรื่องที่เข้มแข็งตั้งแต่แรกเริ่ม”
ชีวิตของไอรีนหลังจากเรื่อง “The Nun” …
ไมเคิล ชาเวส: “I saw this great BBC documentary from the ‘50s on a group of nuns สร้างบ้าน ทำงานอย่างหนัก ต้องทำงานก่อสร้าง เทปูน และย้อนกลับมาไอเดียของตัวละครหญิงแกร่ง พวกเธอต้องออกไปเผชิญโลกและสร้างความแตกต่าง เราสำรวจจนพบการแนะนำตัวละครไอรีนหลายรูปแบบ แต่ผมอยากให้เธอดูมีความยากลำบาก ภาคแรกของเธอที่อยู่ในสำนักที่อิตาลี ต้องดันรถบรรทุกที่ติดโคลน และผมชอบที่เธอมีส่วนร่วมในงานหนัก ต้องเจอความสกปรก แต่ก็มีความสุขกับมันได้ นั่นคือสิ่งที่ติดอยู่ในความคิดของผมเกี่ยวกับแม่ชีเหล่านั้น ทุกคนยนดีที่จะทำงานหนักและรับใช้ผู้คน แม้ว่าไอรีนจะต้องพบกับการผจญภัยครั้งใหญ่ในภาคแรก เธอก็มีความสุขที่จะกลับไปสู่ชีวิตที่เรียบง่าย เธอไม่ออกไปตามล่าปีศาจตัวต่อไป ไม่ต้องการมีชื่อเสียง ไม่ต้องการทำงานเพอโป๊ป เธอแค่อยากทำความดีให้โลก นั่นคือสิ่งที่เหมาะสำหรับไอรีน และตอนที่ผมคุยกับเทสซาเธอก็เห็นด้วย… มันดีสำหรับตัวละครและจุดเริ่มต้นของเธอ”
การพบกับซิสเตอร์เดบรา…
ไมเคิล ชาเวส: “ซิสเตอร์เดบรารับบทโดยสตรอม รี้ด เป็นเพื่อนร่วมเดินทางชาวอเมริกันเหมือนไอรีนและอยู่ที่ยุโรป เธออยู่กับไอรีนในภาคแรก เป็นผู้ริเริ่มแต่กลับพบว่าตัวเองสงสัยในศรัทธา ช่วงแรกต่อสู้กับพระเจ้าและเริ่มมอบชีวิตให้พระเจ้า แต่เธอเกิดความสงสัยในเดบรา มันดูสมจรงและเข้าใจในเรื่องราวของเธอได้ เธอมีความหลังในเรื่องความอยุติธรรมทางเชื้อชาติ มองดูชีวิตแล้วมันง่ายมากที่เธอจะพูดว่า ‘พระเจ้ายอมให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร’ ซึ่งนั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง และการสูญเสียแม่ยิ่งเป็นเรื่องที่รุนแรง เธอพูดว่า ‘แม่เหมือนโบสถ์ของฉัน’ ผมรักประโยคนั้นเพราะตอนที่โตขึ้นมาพ่อพาผมไปโบสถ์คาทอลิค เด็กหลายคนที่โตขึ้นมาหากมีความเชื่อในศาสนา บางครั้งมีพ่อแม่คนใดคนหนึงพาไปสู่จุดนั้นเป็นตัวอย่างได้ สำหรับเดบราคุณแม่ของเธอคือจุดศูนย์รวมศาสนาสำหรับเธอ
“ตอนที่เธอต้องสูญเสียแม่ไปทำให้เธอสงสัยในศรัทธาของตัวเอง แม้ว่าเธอจะเข้ามาใหม่และต้องรับคำสาบาน เธอก็ยังไม่มั่นใจนักในคำถามเรื่องความศรัทธา: เธอพร้อมจะมอบชีวิตให้พระเจ้าหรือ? เธอมีความเชื่อจริงหรือ? นั่นคือสิ่งแรกที่เราเริ่มเข้าไปสำรวจเมื่อพบตัวละครของเธอ จนกลายเป็นสิ่งที่สืบเนื่องไปจนถึงตอนจบ ไอรีนนำความจริงในอดีตที่วาแลคเคยทำลายเหล่าแม่ชีผู้มีความบริสุทธิ์และมีศรัทธาอย่างแรงกล้า ไอรีนกังวลที่จะต้องต่อสู้กับแม่ชีผู้ที่ตั้งข้อสงสัยในตัวเธอ เพราะในเรื่องราวเหล่านี้ความศรัทธาเหมือนเกราะกำบังของพวกเธอ เปรียบเสมือนอาวุธ เราต้องแน่ใจว่าอาวุธของเราแข็งแกร่งและคมมากพอ ผมคิดว่านั่นคือสิ่งที่สร้างความตื่นเต้นให้เรื่องราว”
เวลาและสถานที่…
ไมเคิล ชาเวส: “ผมรักไอเดียที่จักรวาล ‘The Conjuring’ อยู่ที่ยุโรป สิ่งแรกที่ผมทำคือดูกองรูปทั้งจากฝรั่งเศสและสเปนยุค 1950 ก้าวแรกของการหาข้อมูลคือสืบค้นจากรูปเหล่านี้ หลายไอเดียดีๆ มาจากตรงนั้น แผงขายหนังสือพิมพ์คือหนึ่งในสิ่งแรกๆ ที่ตอนนี้กลายเป็นเอกลักษณ์ความหลอนของหนังไปแล้ว… ผมดูฉากแผงหนังสือพิมพ์วินเทจเก่าๆ และรู้สึกรักมัน ในโลกสมัยใหม่ของเราไม่มีอะไรย้อนไปหาความหลังได้เท่าแผงหนังสือพิมพ์แล้ว ผมรักนิตยสารและหนังสือพิมพ์สมัยก่อน รวมถึงการออกแบบกราฟฟิคแบบสมัยก่อนด้วย ผมว่าเป็นภาพที่น่าตื่นเต้นและมั่นใจว่าเรามีบางอย่างเล่นกับมันได้
“เราได้เดินทางย้อนเวลาด้วยรูปเหล่านั้น และผมคิดว่ามันดึงเราจากโลกแห่งความจริงได้ นั่นคือสิ่งที่สำคัญที่ผมอยากทำให้หนังสมจริงมากที่สุด มันช่วยทำให้หนังสยองขวัญสนุกขึ้น ได้รับประสบการณ์ที่หลอนมากขึ้น หากเราอยากเชื่อในสิ่งที่เห็นและเชื่อว่าเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นจริ่ง สิ่งสำคัญคือต้องมีความจริงใจต่อเมืองนั้น ช่วงเวลานั้น และรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ คุณอาจหลอกผมได้ หลอกคนอื่นอีกมากมายได้ แต่ผมอยากให้คนที่เคยผ่านช่วงเวลานั้นได้เห็นและพูดว่ามันเป็นแบบนั้นจริงๆ”
วาแลคคือสัญลักษณ์แห่งความหลอน…
ไมเคิล ชาเวส: “ผมคิดว่า เดอะ นัน คือหนึ่งในหนังปีศาจที่โดดเด่นเรื่องหนึ่ง พอเราเห็นโปสเตอร์แล้วมันเหมือนย้อนไปหาแดรกคูลา มีความเหมือนเพนนีไวซ์ เห็นความคล้ายนอสเฟราตู มันคือความอมตะและมีเอกลักษณ์โดดเด่น นี่คือหนึ่งในเอกลักษณ์ของหนังสยองขวัญและหนึ่งในตัวร้ายที่น่ากลัว สำหรับเรื่องนี้ผมอยากให้เป็นยิ่งกว่านั้น ผมอยากสำรวจเรื่องอาการที่แสดงออกต่างๆ และขุดค้นเรื่องราวมากขึ้น อย่างน้อยก็ตำนานหรือทฤษฎีต่างๆ ตามต้นกำเนิดที่ควรจะเป็น ผมคิดว่ามันสำคัญมาก แต่ต้องไม่ดูเน้นเจาะจงจนเกินไป ผมคิดว่ามันจะมีทั้งความลึกลับและการไม่รู้ว่ามันคืออะไร มันมีพลังมาก ทำให้เราหวาดกลัวได้”
ทีมนักแสดง…
ไมเคิล ชาเวส: “เทสซา [ฟาร์ไมกา] และสตรอม [รี้ด] พวกเขาสร้างมิตรภาพในหนังได้ดีมาก ส่วนนอกจอพวกเขาก็เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน ผมคิดว่าเหมือนกับตัวละครของพวกเขาเลย พวกเขาเข้าถึงกันได้จริงๆ สนุกสนานด้วยกัน มันเป็นเรื่องสนุกเวลาที่เห็นนักแสดงเข้ากันได้ดี แม้แต่ตอนที่ไม่ถ่ายทำพวกเขาก็คุยกันเรื่องทั่วไปและเรียนรู้กัน ด้วยความเป็นเด็กของเทสซาแต่สตรอมมีความเป็นเด็กกว่า ได้เห็นมิตรภาพของพวกเขาที่พัฒนาขึ้นแล้วรู้สึกดีมาก ผมคิดว่าเราจะห็นได้จากการแสดงของพวกเขาเช่นกัน บนหน้าจอพวกเขาถ่ายทอดออกมาได้ดีเยี่ยม
“เทสซาและโจนาส [โบลเก้] นี่เป็นหนังเรื่องที่ 2 ที่พวกเขาได้ร่วมกัน และเราคิดว่าพวกเขาจะร่วมงานกันตลอดไป เคมีบนหน้าจอของพวกเขาดูดีมาก และนอกจอก็เป็นเพื่อนสนิทกัน มีความเป็นพี่น้องกัน เหมือนเพื่อนสนิทกันจริงๆ เลย ไอรีนและเมาริสเป็น 2 ตัวละครที่หลังจากพบกับเรื่องราวของเซนต์ คาร์ตา [ในเรื่อง “The Nun”] พวกเขาผูกพันกันอย่างงรวดเร็ว และถึงแม้ทุกอย่างจะเดินหน้า แต่เธอตกลงจะใช้ชีวิตเป็นแม่ชี และเขาตกหลุมรักกับเคท เรารู้ว่ายังมีบางอย่างคงอยู่ เพราะความผูกพันของพวกเขาแกร่งมาก ผมคิดว่ามิตรภาพในชีวิตจริงจะเห็นได้จากเคมีบนหน้าจอ ในเรื่องนี้พวกเขาต้องแยกทางกันไปไกล แม้ว่าต้องรับหน้าที่สำคัญในชีวิต เราไม่เห็นพวกเขากลับมาเจอกันเลยจนถึงช่วงพักหลัง ผมคิดถึงเรื่องนั้นอยู่เหมือนกัน แต่สุดท้ายก็แฮปปี้กับมัน เพราะการจับพวกเขาแยกกันทำให้ทุกอย่างตื่นเต้นมากขึ้นและดราม่าหนักขึ้นเมื่อพวกเขากลับมาเจอกัน”
ความเกี่ยวข้องระหว่างเซนต์ ลูซี่กับเรื่องราว…
ไมเคิล ชาเวส: “เซนต์ ลูซี่สร้างความตกใจและทำให้ผมสนใจได้เสมอ ผมโตมากับคาทอลิคและนึกภาพเธออยู่รอบตัวตลอด เธอคือผู้ยอมเสียสละดวงตา และหลายครั้งเราจะเห็นดวงตาของเธอบนฝ่ามือ ผมคิดว่ามันทั้งน่ากลัวและมีพลังคิดว่าเป็นไอเดียที่เรียกความน่าสนใจได้มาก โดยเฉพาะจุดเชื่อมโยงกับซิสเตอร์ไอรีนผู้เห็นภาพต่างๆ ตลอด เธอมักจะสื่อถึงบางสิ่งที่อยู่เหนือกว่าตัวเธอ และไอเดียที่ระหว่างภารกิจของไอรีนจะเกิดเรื่องราวส่วนตัวนี้ขึ้นด้วย ซึ่งเป็นจุดเล็กๆ ที่ทำให้เธอเข้าใจตัวเองว่าเป็นใคร พบกับความสามารถของตัวเองในการมองโลกที่อยู่รอบตัวเธอ”
การสร้างเซดริคขึ้นมา…
ไมเคิล ชาเวส: “ตัวละครเซดริค ลูกชายของมาดามลอว์เรนต์ที่เสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฎให้เห็นบนรูปปี 1930 ผมเห็นผู้ช่วยบาทหลวงในงานฝังศพของเขา มันอยู่บนถนนและเขามีสิ่งที่ยังขุ่นเคืองใจอยู่ เขายืนอยู่ตรงนั้น ท้องถนนเต็มไปด้วยหมอกควัน มันดูสวยและน่ากลัวในเวลาเดียวกัน แต่ก็เป็นภาพที่วิเศษมากด้วย ผมคิดว่า ‘เราต้องมีผู้ช่วยบาทหลวงในหนังแล้ว’ ผมคิดว่าเจมส์ [วาน] เข้าถึงสิ่งที่มีพลังได้อย่างเหลืออเชื่อตอนที่เขาสร้างเดอะ นันขึ้นมา เราจะสร้างอะไรที่ดูหมิ่นศาสนาได้อย่างไร? เราจะทำให้ตัวละครมีความสร้างสรรค์ละมีการดูหมิ่นศาสนาอย่างไร ‘เราจะทำอะไรกับมันได้อีก?’ ผมคิดว่าผู้ช่วยบาทหลวงเป็นตัวละครที่เท่และเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ”
บรรยากาศสถานที่…
ไมค์ ชาเวส: “ผมคิดว่าการถ่ายทำที่ฝรั่งเศสเป็นโอกาสสำคัญ ทั้งสำหรับภาพยนตร์และประสบการณ์ส่วนตัว มันช่วยสร้างความสมจริงและความน่าเชื่อถือได้เยอะเลย มันคือสิ่งที่ผมสร้างความแตกต่างขึ้นมาเองไม่ได้ คิดว่ามันช่วยพาภาพยนตร์มาสู่อีกระดับหนึ่ง เหมือนเราได้เดินทางสู่อดีต ได้เข้าไปอยู่ในโลกใบนี้ ผมคิดว่ามันช่วยทำให้เรื่องราวดูมีน้ำหนักและมีรายละเอียดที่น่าประทับใจหลายอย่าง
“ยิ่งไปกว่านั้นการกำกับหนังเหมือนข้อได้เปรียบอย่างหนึ่ง เราจินตนาการภาพเอาไว้ทุกย่างก้าว เหมือนเราเข้าไปสำรวจสถานที่ ได้เดินทางรอบฝรั่งเศส เราได้ร่วมงานกับทีมงานและนักแสดงที่เก่งๆ ทุกอย่างคือข้อได้เปรียบ ผมเดินเข้าฉากได้ทุกวันเลยล่ะ และมีลูกๆ ไปทำงานร่วมกับผม ได้เห็นสิ่งที่ผมทำ… พวกเขาเพิ่งถึงวัยที่ดูหนังแบบนี้ได้ด้วย สำหรับผมช่วงที่โตขึ้นมาเห็นสิ่งที่พ่อทำแล้วมันดูเข้าใจค่อนข้างยาก ถึงแม้ผมจะพยายามบอกลูกว่างานนี้มันวิเศษขนาดไหน น่าตื่นเต้นขนาดไหน บางครั้งมันก็ดูเข้าใจยากอยู่ดี พพวกเขาได้มาอยู่ในฉากถึงรู้ว่ามันวิเศษมาก เมื่อทุกอย่างมารวมกันมันคือประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกับที่ไหน”
สิ่งที่อยู่ในเรื่องราว…
ไมเคิล ชาเวส: “ผมตื่นเต้นกับสิ่งที่ผู้ชมจะได้เห็นในเรื่องนี้มาก และคิดว่ามันเป็นความสยองที่ตามหลอนช่วงค่ำคืนเลยล่ะ ผมรักการไปดูหนังในโรงโดยเฉพาะหนังสยองขวัญ อยู่ในโรงหนังกับเพื่อนและคนแปลกหน้ามันมีพลังมาก นอกจากความหลอนยังเต็มไปด้วยรายละเอียดเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งจะพาตัวละครไปพบกับทางเลือกที่ยากจะตัดสินใจต่างๆ ช่วงที่ผมดูพร้อมกับผู้ชมเป็นความพิเศษและน่าตื่นเต้นมาก ผมอดใจรอให้ผู้ชมดูเรื่องนี้ไม่ไหวแล้ว”
ปีเตอร์ ซาฟราน (ผู้อำนวยการสร้างฯ)
เสียงสะท้อนถึงวาแลค…
ปีเตอร์ ซาฟราน: “ตั้งแต่ช่วงแรกแทบทุกคนกลัวแม่ชี แต่เมื่อรวมความหลอนเข้ากับใบหน้าของบอนนี อารอน [ที่แต่งหน้าแล้ว] และเรื่องราวของวาแลค จะมีบางอย่างที่อยู่ในความรู้สึกแฟนหนังสยองขวัญ ไอเดียที่ปีศาจสุดโหดร้ายปรากฎตัวในร่างของสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างแม่ชีเป็นเรื่องที่เรียกความสนใจได้มากเลย”
ทีมนักเขียนบทที่มีฝีมือ…
ปีเตอร์ ซาฟราน: “เรารู้มาตลอดว่อยากสานต่อเรื่องราวของเมาริส [รับบทโดย โจนาส โบลเก้] แต่ด้วยไอเดียของอาคีลา [คูเปอร์] ที่คิดให้จับคู่กับซิสเตอร์ไอรีน [รับบทโดย เทสซา ฟาร์ไมก้า] กับซิสเตอร์เดบรา [รับบทโดย สตรอม รี้ด] ตัวละครใหม่ที่ออกไปสำรวจทั่วยุโร ริชาร์ด [นาอิง] และเอียน [โกลด์เบิร์ก] สร้างฉากที่ชวนหลอนได้น่าทึ่งมาก และอยู่ร่วมการถ่ายทอดตลอด ความร่วมมือของพวกเขาช่วยถ่ายทอดเรื่องราวแบบที่ผู้ชมต้องหลงรัก”
การร่วมงานกับไมเคิล ชาเวสอีกครั้ง…
ปีเตอร์ ซาฟราน: ”เรารักการร่วมงานกับไมเคิลในเรื่อง ‘The Conjuring: The Devil Made Me Do It’ และยังคงหาโอกาสร่วมงานกันอีก เขาถ่ายทอดตัวละครได้ดูสมจริงและน่าเชื่อถือ จากนั้นเพิ่มความน่ากลัวเข้าไปในสถานการณ์ต่างๆ ได้ เรารู้ดีว่าอยากพัฒนา ‘The Nun II’ เหนือกว่าระดับของ ‘Nun’ ต้นฉบับ และเรามีความเชื่อมั่นว่าไมเคิลทำได้ เรามีศรัทธาจากภาพยนตร์ที่น่าประทับใจจากฝีมือของเขา”
สถานที่…
ปีเตอร์ ซาฟราน: “เราถ่ายทำภาคแรกที่โรมาเนีย และต้องการให้ภาคต่อดูแตกต่างอย่างสิ้นเชิง ตอนที่ตัดสินใจว่าจะถ่ายทำภาคแรกที่ไหน เราอยากพาผู้ชมไปพบกับบรรยากาศที่มีเอกลักษณ์จึงลงเอยที่โรมาเนีย เราอยากสานต่อความมีเอกลักษณ์นั้น เรารักบรรยากาศสถานที่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและรอบโพรวองซ์ มีตึกที่เสื่อมสภาพสวยๆ หลายแห่ง และบรรยากาศโดยรอบของอีกหลายเมืองในโพรวองซ์ด้วย ที่นั่นมีสถาปัตยกรรมที่งดงาม เราพบสถานที่น่าทึ่งอีกหลายแห่ง สามารถเข้าไปถ่ายทำได้จริงแทนการถ่ายทำที่โรงถ่าย ซึ่งจะช่วยสร้างบรรยากาศและความรู้สึกที่สมจริงให้เรื่องราว สัมผัสได้ถึงประวัติศาสตร์และเรื่องราวในทุกเฟรมที่ไมเคิล [ชาเวส] ถ่ายทำ
ภาพลักษณ์และเสื้อผ้า…
ปีเตอร์ ซาฟราน: “เมื่อเราเลือกถ่ายทำกันที่ฝรั่งเศส เราอยากรวมการถ่ายทำภาพยนตร์แบบฝรั่งเศสในทุกมุมเอาไว้ด้วย การถ่ายทำของฝรั่งเศสไม่เป็นรองใคร และเรารู้ว่าที่นั่นมีทีมงานที่มีฝีมือในทุกแผนก โชคดีที่เราได้ร่วมงานกับผู้ชำนาญด้านการออกแบบท้องถิ่นและตื่นเต้นที่จะร่วมงานในโปรเจ็กต์ของเรา ตัวอย่างคือสเตเฟน เครสเซนต์ และ แอกเนส บีเซียร์ ผลงานของพวกเขาโดดเด่นสะดุดตา และพวกเขาทำให้เรามั่นใจว่าหนังของเราจะให้ความสมจริงทั้งในแง่เวลาและสถานที่ต่างๆ”
เจมส์ วาน (ผู้อำนวยการสร้างฯ)
พูดถึงผู้กำกับฯ ไมเคิล ชาเวส…
เจมส์ วาน: “ผมคิดว่าไมเคิลมีพรสวรรค์สูงมาก เขามีความถนัดในการกำกับหนังแนวนี้ และเขาเคารพโลกที่เราสร้างขึ้นมาสูงมาก เขาเป็นแฟนพันธุ์แท้ของโลกใบนี้ ไม่ได้เข้ามาลองปรับเปลี่ยนอะไร เขาเข้ามาเพื่อพัฒนาหนังเหล่านี้ด้วยความรักและความหลงใหลที่มี ผมคิดว่าไมเคิลสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมเอาไว้ในเรื่อง ‘The Nun II’ ผมร่วมงานกับเขาตั้งแต่หนังเรื่องแรกๆ เขาเติบโตมาพร้อมกับหนังแต่ละเรื่องที่เขาสร้างขึ้นมา”
ต้นกำเนิดของวาแลค…
เจมส์ วาน: “ใครก็ตามที่เคยเรียนโรงเรียนคาทอลิคจะบอกว่าแม่ชีน่ากลัว และผมรู้สึกว่ามันมีบางอย่างอยู่เบื้องหลังความคิดนี้ ช่วงแรกของเรื่อง ‘The Conjuring 2’ ปีศาจวาแลคปรากฏตัวในร่างปีศาจมีเขา โดยอาศัยเอ็ฟเฟ็กต์ Fractured FX สร้างขึ้นมา แต่ในชวงหลังการถ่ายทำตอนที่ผมตัดต่อหนัง ผมรู้สึกว่าการออกแบบปีศาจตัวนี้ขึ้นมายังไม่เหมาะสำหรับหนังอย่าง ‘Conjuring’ นัก ดูเยอะจนกลายเป็นแนวเทพนิยายเกินไป ระหว่างตัดต่อหนังผมพูดเสมอว่าทุกช่วงของการถ่ายทำภาพยนตร์ มักจะมีไอเดียใหม่ๆ โผล่ขึ้นมาอย่างที่เราคิดไม่ถึง หรือเราจะคิดบางอย่างขึ้นได้เหมือนผมในช่วงหลังการถ่ายทำ ผมคิดได้ว่าอยากย้อนกลับไปปรับเปลี่ยนภาพของวาแลค
“และสิ่งที่ผมคิดตั้งแต่แรกคือมันยังไม่เจาะลึกถึงเรื่องราวส่วนตัวมากพอ ผมอยากย้อนกลับไปที่มุมมองตัวละคร และจำตอนที่คุยกับลอร์เรน วอร์เรนเมื่อเธอยังมีชีวิตได้ เธอเล่าว่ามีเพื่อนหลายคนและเพื่อนสนิทเป็นแม่ชี ประเด็นนั้นโผล่ขึ้นมาและคิดว่าถ้านั่นคือสิ่งที่กวนใจเธอล่ะ หนึ่งในสิ่งที่มารบกวนศรัทธาและความเชื่อของเธอ โผล่มาในรูปแบบที่เธอใกล้ชิดและสนิทใจ นั่นคือไอเดียจุดเริ่มต้นของปีศาจแม่ชีครับ
“ตอนนี้ผมย้อนกลับไปคิดถึงตัวละครและเนื้อเรื่อง เพราะตัวละครแม่ชีที่ต้องรับบทร้ายกลยาเป็นศัตรูมันเล่นกับความรู้สึกส่วนตัวมาก และเธอยังคงอยู่ในใจผู้ชมจากเรื่อง ‘Conjuring 2’ ทุกคนรักเธอ ทุกคนกลัวปีศาจตัวนี้ในร่างแม่ชีที่จับต้องได้ มันรู้สึกเหมือนเธอมีความรู้สึกนึกคิดของตัวเองได้จริงๆ”
เหตุผลที่ซิสเตอร์ไอรีนเดินหน้าสู่การผจญภัยของเธอ:
เจมส์ วาน: “‘The Nun II’ เป็นเรื่องราวที่ติดตามเฟรนชี ตอนนี้เรียกว่าเมาริสรับบทโดยโจนาส โบลเก้ เขาสร้างผลงนไว้ในภาคแรกได้อย่างน่าประทับใจ หากจำได้ในภาคแรกตอนที่พวกเขาทิ้งปีศาจร้ายไว้ข้างหลัง พวกเขาคิดว่าเอาชนะ วาแลค ปีศาจร้ายในร่างแม่ชีได้ แต่จะเห็นคำใบ้เกี่ยวกับปีศาจนี้ว่าอาจฝังตัวในร่างเมาริส ช่วงเริ่มต้นของเรื่องจะไม่สัมผัสความผิดปกติของเมาริส และปีศาจที่เขาคิดว่าเอาชนะได้แล้วค่อยๆ กลืนกินเขาจากภายใน จนเขารู้ตัวว่ามันสิงเขาไปแล้ว
“นั่นคือเหตุผลที่ไอรีนกลับมา ไม่ว่าเธอจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เธอกลับมาเพื่อเพื่อนเป็นหลักและเป็นสิ่งที่ผมรัก ผมรักที่สองตัวละครนั้นสนิทกัน มิตรภาพแนนแฟ้น เธอใส่ใจเขาหลายเรื่องและพร้อมทำทุกอย่างเพื่อต่อสู้กับปีศาจร้ายนี้อีกครั้ง แน่นอนว่านี่คือสิ่งที่ท้าทายเธอมากเท่าที่เคยผ่านมา และเป็นการท้าทายในศรัทธาของเธอด้วย”
สเตเฟน เครสเซนด์ (ผู้ออกแบบฉาก)
การสร้างโลก “The Nun II” ขึ้นมา…
สเตเฟน เครสเซนด์: “ผมจำทุกอย่างที่คุยกับไมเคิล [ชาเวส] ตั้งแต่ช่วงแรกได้ ส่วนใหญ่เราคุยกันเรื่องบรรยากาศ ซึ่งเราหาได้จากที่ฝรั่งเศส ตามสถาปัตยกรรมสวยๆ ทั้งหลาย เราคุยกันเรื่องการสร้างบรรยากาศยุค 50 ขึ้นมาใหม่อย่างที่พบได้ในฝรั่งเศส เขาใส่ใจเรื่องความสมจริงเป็นพิเศษ อยากให้ทุกอย่างดูสมจริงและมีความถูกต้องมากที่สุด
“ด้วยความที่นี่เป็นหนังสยองขวัญเรื่องแรกของผม ไมเคิลช่วยผมหลายอย่างเกี่ยวกับเทคนิคสร้างความน่ากลัว เราจะสร้างความน่ากลัวขึ้นมาอย่างไรในช่วงเวลาแห่งความเงียบ ผมพยายามสร้างฉากที่สร้างบรรยากาศตามที่เขาบอกผม ผมคิดในใจ ‘เราอาจมองตรงนี้และหันไปมองตรงนั้นก็ได้ เราปล่อยให้นักแสดงเดินรอบฉากได้ หรือจะปิดท้ายตรงนี้หรือตรงนั้นก็ได้’ ผมต้องไปให้ถึงระดับสูงขึ้นเพื่อดูว่าเราจะสร้างความน่ากลัวเหล่านี้ได้อย่างไร ผมต้องคิดภาพว่าห้ามเห็นทุกอย่างทันที เหมือนการเล่นซ่อนแอบกับนักแสดงเย ไมเคิลช่วยผมได้เยอะมาก เราร่วมมือกันดีมากเลยครับ”
การทำงานในสถานที่ต่างๆ…
สเตเฟน เครสเซนด์: “เราไม่ได้ใช้สถานที่จริงอย่างที่เห็นทั้งหมด มีการปรับเปลี่ยนหลายอย่าง เราพยายามสร้างความเชื่อมโยงทั้งโทนสีและความสมดุลกับบรรยากาศ ด้านนอกที่เราถ่ายทำโรงเรียนเซนต์แมรี่ เราต้องสร้างขึ้นมาใหม่บนสถานที่จริง แต่ไมใช่สีแบบเดิม ทุกอย่างมีการปรับเปลี่ยน เหมือนการทำงานในสตูดิโอเล็กๆ แต่ใช้สถานที่จริง เราเคลื่อนย้ายและสร้างกำแพง ผนังกั้น และแทบทั้งหมดที่คุณเห็น เราปรับโรงกีฬาเป็นโบส์เกาแก่ของเรา แต่เราพยายามรักษาบรรยากาศเดิมเอาไว้”
โรงเรียนประจำเซนต์แมรี่สำหรับสาวๆ…
สเตเฟน เครสเซนด์: “โรงเรียนเซนต์แมรี่เป็นสำนักแม่ชีครับ สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 13 และยังคงเป็นสำนักแม่ชีมานานราว 5 ศตวรรษ ถูกปรับเปลี่ยนหลายครั้งโดยที่ไม่มีการถนอมสภาพเดิมเอาไว้ จนกลายเป็นโรงเรียนช่วงกลางศตวรรษที่ 19 จนถึงปี 2015 การปรับเปลี่ยนที่น่าผิดหวังหลายครั้งนั้นโชคดีที่เกิดขึ้นก่อนช่วงสงคราม ทำให้ไม่มีการใช้คอนกรีตปรับปรุงสักเท่าไหร่ เราพยายามลบหลายอย่างออกและย้อนกลับไปหายุค 30 และ 40 ความงดงามของยุค 1950 เห็นได้ชัดทางตอนใต้ ส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นมาใหม่หลังช่วงสงคราม แต่เราตัดสินใจกับไมเคิลว่าจะสร้างบรรยากาศโรงเรียนให้เป็นช่วงกอนสงคราม ออกไปจะเห็นแค่ถนน รถยนต์ หรือสถานีรถไฟ บรรยากาศเหมือนยุค 50 คล้ายกับในเรื่อง ‘The Nun’ ที่เราอยู่ในปราสาท อาจเป็นศตวรรษที่ 17 หรือ 18 ยุคที่ทิ้งหลักฐานไว้ชัดเจนว่าเราอยู่ในเมืองโรมาเนียน”
จากคอนเซ็ปต์สู่ฉากจริง…
สเตเฟน เครสเซนด์: “เมื่อเราสำรวจพบสถานที่แห่งแรก เราปรับเปลี่ยนพร้อมกับผู้ชำนาญด้านคอนเซ็ปต์ในฝรั่งเศศ ภาพแรกที่ติดตาคือโบสถ์เล็กๆ ฉากของโบสถ์แทบจะสร้างขึ้นมาใหม่ แหล่งอ้างอิงสำคัญของเราที่ได้จากไมเคิลคือภาพยนตร์ของ เฮนรี-จอร์จ โคลซอต ‘les diaboliques’ ที่ถ่ายทำในโรงเรียนยุค 50 จากแหล่งอ้างอิงนั้นทำให้เข้าใจทุกอย่างง่ายมากว่าเขาต้องการอะไร ผมแค่กลับไปดูหนังที่ลืมไปแล้วอีกรอบ แต่ผมก็สนุกนะครับ”
ไนท์คลับปีศาจ…
สเตเฟน เครสเซนด์: “เราพบประสบการณ์สุดแปลกที่ Tarascon เรากำลังหาสถานที่เพื่อใช้เป็นฉากไฟสีแดง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะส่วนใหญ่จะเป็นแสงไฟนีออน แต่สถานที่ที่เราเลือกคือไนต์คลับ เราติดตั้งไฟนีออนแล้วและผลที่ได้คือความหลอน ผมรู้ทีหลังเมื่อได้คุยกับเพื่อนบ้านว่าจริงๆ แล้วที่นั่นเป็นร้านเก่า พวกเขาเชิญหมอผีมาทุกปีเพื่อจัดการปีศาจ การถ่ายทำที่นี่สนุกดีครับ ได้สร้างสถานที่ชวนหลอนขึ้นมากไนท์คลับที่ตกแต่งด้วยไฟนีออน”
แอกเนส บีเซียร์ส (ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย)
การค้นคว้าข้อมูลและแรงบันดาลใจ…
แอกเนส บีเซียร์ส: “ฉันโชคดีมากที่ได้เข้าไปร่วมงาน MAD (Musée des Arts Décoratifs) และ Palais Galliera ตั้งแต่ทที่รู้ว่าการค้นหาข้อมูลคือสิ่งสำคัญในการทำงาน หลังจากนั้นฉันได้นั่งอยู่กับนักวาดภาพ ลอว์เรนต์ คิม เพื่อพูดคุยและสร้างความแปลกใหม่ให้ตัวละครหลัก บุคลิก ทัศนคติ และภาพลักษณ์อื่นๆ จากนั้นฉันได้วาดภาพตัวละครออกมาทันทีด้วยภาพลักษณ์แรก ช่วงแรกได้แรงบันดาลจมาจากภาพของวิลลี่ โรนิส ภาพต่างๆ ของเขาเกี่ยวกับสังคมฝรั่งเศสในยุคนั้น [‘ผู้คนธรรมดาที่ใช้ชีวิตธรรมดา’] จนพาผู้ชมเข้าถึงชีวิตทั่วไปในยุค 1950 ได้”
ความบังเอิญเรื่องขอบผ้าขององค์สันตะปาปา…
แอกเนส บีเซียร์ส: “สิ่งหนึ่งที่พบจากการหาข้อมูลคือการออกคำสั่งของสำนักวาติกัน เรื่องความยาวของชุดแม่ชีปี 1952 โป๊ปกำหนดว่าความยาวชายผ้าต้องเหนือพื้น 17 ซม. ซึ่งลงตัวกับเรื่อง ‘The Nun II’ เพราะทำให้ฉันปรับเปลี่ยนชุดของแม่ชีได้ ทำให้ไอรีนและเดบราเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นอิสระและดูมีความทันสมัยขึ้น”
คู่หูไอรีนและเดบรา…
แอกเนส บีเซียร์ส: “สำหรับเสื้อผ้าของไอรีนและเดบรา ฉันมักจะนึกภาพพวกเธอสวมเสื้อผ้าเหมือนกันตลอด เพราะมาจากสำนักเดียวกันแค่มีสถานะต่างกัน มีรายละเอียดหลายส่วนทั้งพวกรอยจีบและลวดลายที่มีความละเอียดมาก พวกเราผลิตผลงานและแก้ไขพวกเรื่องโครงสร้าง เนื้อผ้าคือสิ่งที่นักออกแบบฝากลูกเล่นเอาไว้ได้มากเวลาผลิตเสื้อผ้าคอลเลคชันหนึ่งขึ้นมา แม่ชีทั้งสองต้องผ่านการผจญภัย มีเสื้อโคทเวลาเดินทางเพิ่มขึ้นมา ชุดของไอรีนคล้ายเชอร์ลอค โฮล์มส และชุดของเดบราดูมีความเป็นตะวันตก มีการสะท้อนถึงความเร่งรีบในการทำภารกิจของพวกเธอออกมาด้วย”
การปรับโฉมวาแลค…
แอกเนส บีเซียร์ส: “สำหรับปีศาจแม่ชี ผ้าคลุมคือสิ่งสำคัญสำหรับทั้งไมเคิล ชาเวสและฉันเลยค่ะ เขาสังเกตจกาพวกรูปปั้นและเราทำงานอย่างใกล้ชิดกับช่างออกแบบหมวกลอว์เรนซ์ ไบเนต เพื่อผลิตผ้าคลุมให้สมจริงอย่างที่เขาคิดภาพไว้มากที่สุด นับว่าท้าทายมาก เราต้องอาศัยความรู้จากลอว์เรนซ์ สิ่งสำคัญสำหรับฉันคือการทำให้แม่ชีดูน่าเคารพด้วยการเลือกใช้เนื้อผ้าด้วยค่ะ เพราะเมื่อแม่ชีเลื่อนขั้นอาวุโสขึ้นในสำนัก จะต้องใช้ผ้าที่มีคุณภาพดีขึ้นเพื่อสะท้อนถึงความ ‘สูงศักดิ์’ มากขึ้น”
เครื่องแบบของเซนต์แมรี่…
แอกเนส บีเซียร์ส: “ไมเคิลกับฉันคุยกันว่านักเรียนเซนต์แมรี่ควรสวมเสื้อผ้าของตัวเองหรือมีเครื่องแบบดี ช่วงที่อยู่ที่ฝรั่งเศส โรงเรียนเอกชนจะมีชุดเครื่องแบบ และเด็กๆ จะสวมเสื้อผ้าตัวเองก็ได้แต่ต้องสวมเอี๊ยมหรือผ้ากันเปื้อนไว้ด้านบนเวลาที่มีงานสำคัญ ฉันรู้สึกว่าทุกคนควรสวมเครื่องแบบเหมือนกัน ชุดเสื้อคลุมของโซฟีต่างจากเครื่องแบบเด็กผู้หญิงคนอื่น ในยุคนั้นผู้คนมักจะเย็บเสื้อผ้าเองและนำผ้ากลับมาใช้ใหม่ นั่นคือเหตุผลที่ชุดของโซฟีแตกต่าง เคทเองก็ใช้เครื่องแบบที่นำกลับมาใช้ซ้ำใหม่ เพื่อทำชุดเครื่องแบบให้ลูกสาวของเธอเอง
“สำหรับเรื่องเครื่องแบบ ฉันมีคอลเบคชันผ้าจากช่วงเวลาหลายปีมาก และมีภาพในใจว่าผ้าลินินลายตารางสีน้ำตาลน่าจะเหมาะกับชุดเครื่องแบบ แต่ไม่สามารถหาได้จากแหล่งผลิตที่ไอร์แลนด์อย่าง Emblem Weavers โชคดีที่ทาง Emblem รักโลกของภาพยนตร์ เราอ้อนวอนให้พวกเขานำผ้าที่เลิกผลิตแล้วกลับมาได้ และทอผ้ายาว 350 เมตรขึ้นมาสำหรับเรื่อง ‘The Nun II’ อันที่จริการนำผ้าชุดนี้กลับมาผลิตใหม่คือออเดอร์แรกๆ ที่เราสั่งขึ้นมาเลย ฉันรู้ตั้งแต่เริ่มแรกว่านี่คือผ้าที่เหมาะสม สุดท้ายเราไม่มีการใช้ผ้าสังเคราะห์ในการผลิตเสื้อผ้าสำหรับเรื่องนี้เลย”
เคทและเมาริส…
แอกเนส บีเซียร์ส: “สำหรับตัวละครของเคท ฉันเห็นผู้หญิงที่อ่อนโยน มีความอิสระ และเลี้ยงดูลูกสาวด้วยตัวเอง เสื้อผ้าของเธอต้องสะท้อนสิ่งนี้ออกมา รวมถึงการทำหน้าที่คุณครูที่โรงเรียนด้วย เราเลือกโทนสีอ่อนและระวังการใช้สีแดงบนชุดของเธอ ชุดที่สองของเธอที่เป็นเสื้อคลุมและชุดครึ่งตัวสื่อถึงชีวิตของเธอก่อนช่วงสงคราม รวมถึงความแข็งแกร่งแบบผู้ชาย เป็นการสะท้อนความเข้มแข็งของตัวละครที่ต้องเป็นทั้งแม่และพ่อของโซฟี ลาย ‘V for Victory’ สกรีนบนชุดผ้าลินินของเธอได้แรงบันดาลใจมาจากลวดลายที่ได้รับความนิยมหลังช่วงสงคราม มีการใช้รหัสมอร์สสำหรับตัวอักษรr V จุด จุด จุด ขีด ซึ่งแทนคำว่า ‘Victory’
“เสื้อผ้าของเมาริสมีการปรับเปลี่ยน ผ้าลินินสำหรับเสื้อเชิ้ตของเขาได้มาจาก Emblem ได้แรงบันดาลใจจากเสื้อถักของนักเล่นบาสเกตบอลชาวญี่ปุ่น มีการใช้สีเขียวมะกอกหรือภาษาฝรั่งเศสเรียกมันว่า ‘marécage’ แปลคร่าวๆ ได้ว่า ‘หนองน้ำ’ มันสะท้อนถึงการถูกสิงที่ลงลึกมากขึ้น กางเกงเป็นผ้าขนสัตว์ถักผลิตโดยผู้ผลิตอังกฤษ Moon มีสีน้ำตาลเข้ม”
เรื่องเข้าใจผิด…?
แอกเนส บีเซียร์ส: “มีเรื่องบังเอิญแปลกๆ เกิดขึ้นโดยที่ฉันไม่ได้คิดมาก่อน พอมองย้อนกลับไปฉันคิดว่าตัวเองลืมให้เวลาใส่ใจปีศาจแม่ชี ต่างจากตัวละครอื่นจนผลที่ได้คือไม้กางเขนหายระหว่างขนส่ง ผ้าที่ใช้กับชุดของเธอถูกส่งไปผิดที่อยู่ ไม่มีการคอนเฟิร์มออเดอร์ตามที่เราคิดเอาไว้ เราไม่เจออะไรแบบนี้กับตัวละครอื่นเลย มันเป็นเรื่องแปลกที่บังเอิญเกิดขึ้นกับปีศาจแม่ชีเท่านั้น และระหว่างการถ่ายทำเรามีไม้กางเขนเพียงอันเดียวอยู่กับชุดของเธอ เราไม่ได้มีเผื่อสำรองเอาไว้ จนสุดท้ายเรามีการเผาชุดสีขาวที่ใช้ในการเวิร์คชอปและแผนกเสื้อผ้าทั้งหมดเพื่อทำความสะอาดพื้นที่ ด้วยความไม่ตั้งใจเราเลยวางช่อดอกไม้สีเหลืองให้เธอเพื่อต้อนรับตัวละครนั้น และจัดเวิร์คชอปต่อเพื่อผลิตชุดของเธอ”
สถานที่ต่างๆ สำหรับการสร้างโลกของ “THE NUN II” ขึ้นมา
Chapelle de la Visitation Catherine de Sienne, Aix-en-Provence
- โบสถ์สไตล์บาโรกแห่งนี้ใช้จำลองเป็นโบส์ทาราสคอน ฉากที่เกิดการฆ่าบาทหลวงอย่างน่ากลัวครั้งแรก
- การก่อสร้างระหว่าง 1647 และ 1652 สถาปัตยกรรมถูกจัดให้เป็นอนุสรณ์แห่งประวัติศาสตร์เมื่อปี 1924
Silvacane Abbey, La Roque-d’Anthéron, Bouches-du-Rhône, Provence
- สถานที่แห่งนี้ถูกใช้เป็นโบสถ์อิตาเลียนที่เราพบซิสเตอร์ไอรีนและเดบราช่วงเริ่มเรื่อง
- จังหวะที่เห็นโบสถ์อยู่ด้านหลัง เป็นช่วงที่เหล่าแม่ชีกำลังพยายามเข็นรถขึ้นจากโคลน.. จนโคลนกระเด็นโดนแม่ชีในวันที่อากาศแจ่มใส
- ฉากอื่นๆ ที่ถ่ายทำในสถานที่จริง ได้แก่ ตอนย้อนกลับไปถึงเมาริส (พร้อมด้วยสิ่งก่อสร้างที่ตั้งอยู่ในโบสถ์โรมาเนียนจากเรื่อง “The Nun”) การเยี่ยมชมของคาร์ดินัลพร้อมซิสเตอร์ไอรีน เหล่าแม่ชีเตรียมอาหารขณะที่ฟังเรื่องราวสยอง และไอรีนมองเห็นภาพ
- โบสถ์ Cistercian ถูกพบช่วงราว 1144 ในสภาพบ้านหลังเล็กของโมริมอนด์ แอบบี้ พังทลายลงในปี 1443 และถูกทำลายลงนับศตวรรษ ทรัพย์สินถูกขายทอดไปช่วงการปฏิวัติของฝรั่งเศส เหลือเพียงโบสถ์ Cistercian อีก 2 แห่งในพื้นที่นั้น พวกเขาเรียกกันว่า “3 พี่น้องแห่งโพรวองซ์” สถาปัตยกรรมถูกบันทึกไว้ในแง่ความเรียบง่าย สมถะ และดูกลมกลืน
- รัฐบาลฝรั่งเศสยกให้เป็นอนุสรณ์แห่งประวัติศาสตร์เมื่อปี 1846 ใช้เวลาเกือบ 150 ปีก่อนจะได้รับการฟื้นฟูสภาพ
Couvent des Prêcheurs, Aix-en-Provence
- ฉากสำคัญต่างๆ ในเซนต์แมรี่ถ่ายทำในสถานที่แห่งประวัติศาสตร์นี้ อดีตเป็นสำนักแม่ชีศตวรรษที่ 13 ซึ่งถูกแปลงโฉมโดยแผนกศิลป์ กลายเป็นบ้านหลังที่ 2 ของทีมงาน ยึดพื้นที่สนามด้านหลังเป็นออฟฟิศสำหรับการถ่ายทำ ห้องแต่งหน้าทำผม และห้องสีเขียวสำหรับนักแสดงบนชั้น
- รายละเอียดของสมัยก่อนถูกเพิ่มเติมตลอดทั้งตึก มีการสร้างบรรยากาศที่ดูทรุดโทรมขึ้นมา บนผนังชวนให้นึกถึงกฎระเบียบของโรงเรียนและลายมือที่เขียนไว้บนประตู
- สถานที่ต่างๆ รวมถึง:
- บริเวณด้านในของสวนชั้นล่าง ที่เมาริสคอยดูแลมะเขือเทศของเขา เขาและเคทสานมิตรภาพกันที่นี่ ทักทายกันจากหน้าต่าง และเป็นจุดที่โซฟีกับเพื่อนที่โรงเรียนเล่นกัน
- ห้องพักครูสำหรับเคทและโซฟีชั้นแรก ในห้องมีรายละเอียดแบบยุค 1950 ตั้งแต่จักรเย็บผ้าไปจนถึงโคมไฟและของใช้ส่วนตัว
- โซฟีและสาวๆ จะอยู่ที่ห้องโถง ห้องคณะบริหารโรงเรียน และห้องเรียน
- ห้องพักครูใหญ่ของมาดาม ลอว์เรนต์ (ที่มีเหล่าแมลงสาบมาเยือนเธอ)
- ทุกฉากภายในโบสถ์ที่ถูกปิดล็อคและทิ้งร้าง.. เกือบทั้งหมดได้แผนกศิลป์ชวยสร้างบรรากาศขึ้นมาจากโรงยิมของโรงเรียนปัจจุบัน มีการตกแต่งผนังให้ดูเหมือน “หิน” แกะสลักรูปปั้นและหน้าต่างกระจก (ได้รับมอบหมายจากผู้ชำนาญ)
- สำนักแม่ชีสร้างขึ้นระหว่างปี 1226 และ 1277 บนสวน Count of Provence ผู้บริจาคให้กับพี่น้อง Prêcheurs เมื่อปี 1218 หลังเกิดเพลิงไหม้เมื่อปี 1383 สำนักแม่ชีและโบสถ์ Madeleine ถูกสร้างขึ้นใหม่ มีการขยายและสสร้างใหม่มีอายุเกือบ 5 ศตวรรษ และโรงเรียนเป็นรูปร่างขึ้นมาช่วงปี 1836 จนถึง 2015
Place des Martyrs de la Resistance, Aix-en-Provence
- ตามมุมถนน Couvent des Prêcheurs ย่านที่เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวแห่งนี้ยังมีโบสถ์สำคัญแห่งประวัติศาสตร์ Aix แผนกศิลป์ตกแต่งบรรยากาศท้องถนนด้วยร้านค้าและรถของฝรั่งเศสยุค 1950 มีการสร้างทางเข้าไปยังโรงเรียนเซนต์แมรี่
Tarascon
- Tarascon ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ Avignon และตอนเหนือของ Arles ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ Rhône มีเมืองเล็กๆ โดดเด่นด้วยถนนหนทางที่ดูซับซ้อน
- ช่วงเวลา 3 คืนของการถ่ายทำ พบว่าไอรีนและเดบราเช็คอินที่โรงแรมท้องถิ่น ไอรีนพบกับถนนที่มืดมิดและมีกลุ่มควัน เธอข้ามถนนไปพบกับกลุ่มไปพบกับเด็กผู้ชายที่เล่นฟุตบอลกับผู้มาเยี่ยม
สตูดิโอโพรวองซ์ Martigues
- สำหรับสัปดาห์สุดท้ายของการถ่ายทำ กองถ่ายย้ายไปที่สตูดิโอโพรวองซ์ใน Martigues อยู่ฝั่งตะวันตกของชายฝั่งจาก Marseilleแผนก
- แผนกศิลป์ได้ผลิตห้องเก็บไวน์และหอระฆังจากเซนต์แมรี่สำหรับฉากสุดท้ายสุดยิ่งใหญ่ ซึ่งต้องใช้นักแสดงผาดโผนและสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์
- การถ่ายทำใช้สถานที่ในโรงถ่ายของสตูดิโอหลายฉาก เช่น การเดินทางด้วยรถไฟของซิสเตอร์ไอรีนซิสเตอร์เดบรา