ไทยเบฟ ตอกย้ำการเป็น Stable and Sustainable Asean Leader ต่อยอด Vision 2020 ขับเคลื่อนสู่ PASSION 2025 ก้าวผ่านวิกฤติ กับก้าวที่แกร่งกว่าเดิม

ไทยเบฟ ตอกย้ำการเป็น Stable and Sustainable Asean

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จัดงานแถลงข่าวทิศทางการดำเนินธุรกิจประจำปี 2563 พร้อมเปิดตัว PASSION 2025 โชว์ศักยภาพความแข็งแกร่ง และกลยุทธ์การปรับตัวในการดำเนินธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา ตอกย้ำ ความเป็นผู้นำเครื่องดื่มครบวงจรอันดับหนึ่ง ในภูมิภาคอาเซียน ที่เติบโต มั่นคง ยั่งยืน นำโดย  คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย คุณประภากร ทองเทพไพโรจน์  รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจสุรา, รองผู้บริหารสูงสุด การเงินและบัญชีกลุ่ม และผู้บริหารสูงสุดด้านการเงินและบัญชี ธุรกิจต่างประเทศ คุณไมเคิล ไชน์ ฮิน ฟา ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจเบียร์  คุณโฆษิต สุขสิงห์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจต่อเนื่อง และ ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (ประเทศไทย), ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มบริหาร ช่องทางการจำหน่าย คุณเลสเตอร์ ตัน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเครื่องดื่ม ไม่มีแอลกอฮอลล์ ประเทศไทย คุณนงนุช บูรณะเศรษฐกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจอาหาร (ประเทศไทย) และ ดร. เอกพล ณ สงขลา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้บริหารสูงสุด กลุ่มทรัพยากรบุคคล ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เมื่อเช้าวันนี้ ( 1 ตุลาคม 2563)

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  “ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ทุกคนต้องเผชิญกับความท้าทายเป็นอย่างยิ่ง กลุ่มไทยเบฟก็สามารถยังยืนหยัดพร้อมกับเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้มากกว่าเดิม แม้เราจะได้รับผลกระทบต่อยอดขายบ้าง

ในช่วงวิกฤติที่ผ่านมา เราให้ความสำคัญกับพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนของเรา โดยได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติพิเศษในสถานการณ์ COVID-19 หรือ ThaiBev Situation Room (TSR) เพื่อเป็นศูนย์ติดตามข้อมูลข่าวสารและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงติดตามการดำเนินงานของกลุ่มไทยเบฟให้สามารถผลิตและจัดส่งสินค้าได้ตามจำนวนที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ดำเนินการดูแลสุขภาพของพนักงาน ซึ่งเป็นบุคลากรกลุ่มสำคัญในการสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง และยังได้นำเอารูปแบบการปฏิบัติงานในระบบดิจิทัลมาเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มากกว่า 95% ของพนักงานบริษัทฯ สามารถเข้าสู่กระบวนการทำงานของระบบดิจิทัล ในวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ ไทยเบฟให้ความสำคัญกับสุขภาพของพนักงาน เครือข่ายคู่ค้า บุคลากรแนวหน้าทางการแพทย์ และบุคลากรภาครัฐ โดยได้ลงทุนในการผลิตและจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ จัดตั้งศูนย์ตรวจโควิด-19 แบบ PCR ดำเนินการแจกจ่ายแอลกอฮอล์ ไปกว่า 1 ล้านลิตร ผลิตและแจกจ่ายหน้ากากอนามัย เพื่อให้ความปลอดภัยกับทุกภาคส่วนและสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าของเราทุกท่าน

ความก้าวหน้าที่สำคัญในช่วง 6 ปี ตั้งแต่ 2014-2020 ตามแผน Vision 2020 นั้น ยอดขายและกำไรของเราเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ไทยเบฟเป็นผู้นำธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยเราได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น สุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และ อาหาร รวมถึงการดำเนินงานของหน่วยงานสนับสนุนธุรกิจ ไทยเบฟคงความเป็นผู้นำในธุรกิจสุรา ในธุรกิจเบียร์เมื่อรวมยอดขายของเบียร์ในประเทศไทย และในประเทศเวียดนาม ถือได้ว่าเรามีปริมาณยอดขายเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน เราเป็นผู้นำในธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ อาทิ ชาเขียวโออิชิ น้ำดื่มคริสตัล และขับเคลื่อนธุรกิจอาหารจนทำให้เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศไทย นอกจากนั้นเราก็ยังให้ความสำคัญในเรื่องของ  ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ไทยเบฟได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก Dow Jones Sustainability Indices -DJSI เป็นอันดับที่ 1 ของโลก ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เป็น Word Industry leader ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และได้เป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนี DJSI World ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และกลุ่มดัชนี  DJSI Emerging Markets หรือกลุ่มตลาดเกิดใหม่ เป็นปีที่ 4 โดยไทยเบฟนับเป็นบริษัทแรกในประเภทอุตสาหกรรมเครื่องดื่มของอาเซียนที่ได้รับ การคัดเลือกให้เป็น World Leader ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กรอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการขับเคลื่อนองค์กรภายใต้ Vision 2020

วันนี้กลุ่มไทยเบฟพร้อมที่จะก้าวไปสู่ก้าวที่แข็งแกร่งกว่าเดิม ต่อยอดความสำเร็จจาก Vision 2020 ขับเคลื่อนสู่ PASSION 2025 ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เราจึงมีแผนในการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของลูกค้า ภายใต้ 3 แนวทางหลักคือ BUILD สรรสร้างขีดความสามารถ STRENGTHEN เสริมแกร่งความเป็นหนึ่ง และ UNLOCK สุดพลังศักยภาพไทยเบฟ

  BUILD (สรรสร้างความสามารถ) คือ สรรสร้างความสามารถและโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ  โดยต่อยอดจากพื้นฐานธุรกิจที่มีอยู่

STRENGTHEN (เสริมแกร่งความเป็นหนึ่ง) คือ เสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจหลัก เพื่อรักษา และก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน

UNLOCK (สุดพลังศักยภาพไทยเบฟ) คือ นำศักยภาพของไทยเบฟที่มีอยู่มาก่อให้เกิดพลังสูงสุด

ท้ายนี้ ผมขอยืนยันในศักยภาพของเราที่มีความพร้อมอย่างรอบด้าน และความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนธุรกิจในกลุ่มไทยเบฟ ร่วมกับคณะผู้บริหาร และเครือข่ายพันธมิตรทุกภาคส่วน เพื่อร่วมสร้างสรรค์ และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโตไปด้วยกัน กับก้าวที่แข็งแกร่ง มั่นคง และยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายของการเป็น Stable and Sustainable ASEAN Leader ภายใต้ PASSION 2025  อันจะสะท้อนถึง ความมุ่งมั่น ตั้งใจและทุ่มเทของทุกคนในกลุ่มไทยเบฟ

คุณประภากร ทองเทพไพโรจน์

คุณประภากร ทองเทพไพโรจน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจสุรา (รองผู้บริหารสูงสุด การเงินและบัญชีกลุ่ม และผู้บริหารสูงสุด ด้านการเงินและบัญชี ธุรกิจต่างประเทศ : มีผลวันที่ 1 ตุลาคม 2563) เผยว่า “ในปีที่ผ่านมาเราผ่านสถานการณ์ที่มีความท้าทายอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน  กลุ่มธุรกิจสุราในเมืองไทยยังคงสามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดได้ดีเหมือนเดิมเนื่องจากบริษัทมีความหลากหลายของตราสินค้าซึ่งตอบรับการบริโภคสินค้าที่บ้าน และการทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับภาพลักษณ์สุราไทย (premiumization) หากดูจากผลวิจัยการตลาด ในรอบ12 เดือนย้อนหลัง แสงโสมสามารถเติบโตกว่า 14% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในส่วนของ เบลนด์ 285 ซิกเนเจอร์ ยังสามารถเพิ่มการเติบโตได้ถึง 37%  นอกไปจากนั้น เมอริเดียนบรั่นดี ยังสามารถเพิ่มการเติบโตได้ถึง 50% และมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 8% ในปีนี้กลุ่มธุรกิจสุรายังได้มีการออกผลิตภัณฑ์ Phraya Elements ซึ่งเป็นสุราระดับพรีเมียมที่ผ่านการเก็บบ่มในถังไม้โอ๊คยาวนานหลายปี ในบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามหรูหราโดยวางจำหน่ายในช่องทางโมเดิร์นเทรด”

คุณไมเคิล ไชน์ ฮิน ฟา

คุณไมเคิล ไชน์ ฮิน ฟา ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจเบียร์ เผยว่า “สำหรับตลาดเบียร์ในต่างประเทศ เรามีวิสัยทัศน์การนำเบียร์ช้างมุ่งสู่การเป็นที่ 1  ของเบียร์สัญชาติไทยในระดับสากล ทั้งในด้านปริมาณการขายและในด้านผลิตภัณฑ์ที่จะต้องเป็นที่ 1 ในใจลูกค้าในระดับสากล โดยได้รับการสนับสนุนจาก 2 แรงผลักดันสำคัญ อันได้แก่ การขยายฐานลูกค้าทางภูมิศาสตร์ของเบียร์ช้าง และการสร้างคุณค่าของตราสินค้า การขยายฐานลูกค้าทางภูมิศาสตร์ของเบียร์ช้าง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในภูมิภาค รวมถึงการขยายฐานลูกค้าไปสู่เมืองที่สำคัญต่าง ๆ ในต่างประเทศ ในแง่ของการขยายตัวในระดับภูมิภาค เบียร์ช้างได้เปิดตัวการผลิตภายนอกประเทศไทย เป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 โดยเบียร์ช้างได้รับการอนุญาตผลิตจาก Emerald Brewery Myanmar Ltd ซึ่งเป็น  บริษัท ย่อยของ F&N  ซึ่งสามารถทำผลงานได้ดีในปีแรกของการดำเนินงานโดยสามารถเจาะเข้าไปในจังหวัดหลักที่สำคัญ ๆ ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาดเติบโตอย่างดีและมียอดขายที่เกินความคาดหมาย อีกทั้งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายคือการเติบโตอย่างต่อเนื่องซึ่งจะช่วยเพิ่มวิสัยทัศน์ของแบรนด์ แรงผลักดันที่สองคือการสร้างคุณค่าของตราสินค้า สื่อออนไลน์ถูกใช้เป็นเครื่องมือหลักในการสร้างแบรนด์เบียร์ช้าง รวมถึงการเข้าถึงผู้บริโภคในระดับสากลโดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์โควิด19 โดยได้มีการสร้างแคมเปญสำหรับผู้บริโภคเพื่อเสริมสร้างความตื่นเต้น และความสัมพันธ์ทีดี รวมถึงสร้างความแข็งแกร่งต่อกลุ่มเป้าหมายในระดับสากล

สำหรับซาเบโก้ และกลุ่มอุตสาหกรรมเบียร์ในเวียดนาม ในปี 2563 ที่ผ่านมานับเป็นอีกหนึ่งปีที่มีความท้าทายจากการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด -19 ทั่วโลก ทำให้ต้องมีแผนการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ และสามารถกู้สถานการณ์ให้เริ่มฟื้นตัวได้เป็นลำดับในช่วงไตรมาสที่ 2 จากการบริหารภายใต้กลยุทธ์หลักต่อไปนี้ 1.การขาย การทำงานเชิงรุก เพื่อสู้กับความท้าทายจากปัญหาโควิด-19 เราได้นำทรัพยากรสำหรับจากค้าขายผ่านธุรกิจอาหารหรือภัตตาคารไปใช้กับการขายให้กับผู้บริโภคในร้านค้าปลีก และยังเน้นการขายให้กับผู้บริโภคในร้านค้าปลีกและการขายปลีกสมัยใหม่ โดยการออก 3 โปรโมชั่นใหญ่ นอกจากนี้ยังเร่งการสร้างช่องทางการขายผ่านทางออนไลน์อีกด้วย 2. การตลาด เนื่องในโอกาสครบ 145 ปี ของซาเบโก้ เบียร์ Bia Lac Viet ได้ถูกผลิตและจำหน่ายเพื่อฉลองครบรอบ 145 ปี ในเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ ยังมีการทดลองขายผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งจะได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในต้นเดือนตุลาคมนี้ 3. การผลิต สายการผลิตกระป๋องใหม่ ซึ่งมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 60,000 กระป๋องต่อชั่วโมง ได้เริ่มการใช้งานอย่างเป็นทางการในเดือน มิถุนายน ที่ โรงผลิตเบียร์ Saigon Quang Ngai  อันบริษัทย่อยของซาเบโก้ ทั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มกำลังการผลิตที่ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดในภาคกลางของเวียดนาม 4. ห่วงโซ่อุปทาน เริ่มนำระบบ Warehouse Management System (WMS) มาใช้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการคลังสินค้า และจะนำระบบ Transport Management System (TMS) อันเป็นระบบการบริหารจัดการการขนส่งมาใช้เป็นลำดับต่อไป 5. ซาเบโก้ 4.การบริหารจัดการธุรกิจด้วยดิจิทัล โครงการซาเบโก้ 4.0 ซึ่งเป็นการริเริ่มระดับกลุ่มบริษัทได้เริ่มดำเนินการ เมื่อเดือน มิถุนายน โดยมุ่งหวังการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานและการบริหารจัดการด้วยการรวมศูนย์การบริหารจัดการ การทำระบบให้ง่ายต่อการใช้งานและมีมาตรฐานเดียวกัน 6.การลดค่าใช้จ่าย มีการบริหารจัดการด้านการเงินอย่างเป็นระบบ ทั้งในด้านวัตถุดิบ ด้านบรรจุภัณฑ์ ด้านการขนส่ง และการเช่าสถานที่”

คุณโฆษิต  สุขสิงห์

คุณโฆษิต  สุขสิงห์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจต่อเนื่อง และผู้บริหารสูงสุด   สายธุรกิจเบียร์ประเทศไทย (2561-2563) รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจต่อเนื่อง และผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (ประเทศไทย) ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มบริหารช่องทางจำหน่าย  (1 ตุลาคม 2563) เปิดเผยว่า “ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีความท้าทายและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ช้าง ยังคงรักษามาตรฐานในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างเข้มแข็ง จะเห็นว่าถึงแม้ภาพรวมตลาดเบียร์ในประเทศไทยในช่วงสถานการณ์ที่ผ่านมาจะมีการเติบโตเฉลี่ยในอัตราที่ลดลง แต่ช้างยังคงมีการเติบโตที่แข็งแกร่งกว่าตลาด  โดยนอกจากตัวเลขในตลาดแล้ว ในส่วนของแบรนด์ช้าง เรายังให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ เพื่อรักษาตำแหน่งอันดับหนึ่งในใจผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องด้วย 3 กลยุทธ์ คือ 1. การสื่อสารแบรนด์  (Brand Communication) เราวางแนวการสื่อสารเพื่อส่งความสุขจากแบรนด์ถึงกลุ่มลูกค้าทั่วประเทศภายใต้แนวคิด “วันเพื่อนมีได้ทุกวัน” ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์โฆษณาชุดต่าง ๆ ไปจนถึงรายการออนไลน์จากช่องทาง Chang World ที่นอกจากจะสร้างความสนุกแล้วยังสามารถย้ำชัดถึงตัวตนของแบรนด์  เรื่องมิตรภาพ ได้อย่างดีเยี่ยม  2. การสร้างประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์ (Brand Experiential) ซึ่งตลอดมา ช้าง เดินหน้าขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเข้าไปครองใจกลุ่มลูกค้ามากมาย พร้อมตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์หลากหลายรูปแบบทั้งดนตรีและกีฬา ถึงแม้ในช่วงสถานการณ์ที่ผ่านมาเราจะไม่สามารถจัดงานอีเวนท์ต่าง ๆ ได้ จึงมีการสร้างสรรค์กิจกรรมทางการตลาดในสื่อออนไลน์ เพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมระหว่างแบรนด์และกลุ่มลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็ยังคงเตรียมความพร้อมเมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ เรายังมั่นใจในการเป็นผู้นำด้านการสร้างมาตรฐาน  การจัดงานดนตรีและไลฟ์สไตล์อีเวนท์ เพื่อส่งความสุขและสร้างมิตรภาพระหว่างเพื่อนต่อไป 3.การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Product/Packaging) ที่ผ่านมาเราถือโอกาสฉลองครบรอบปีที่ 25 ด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่าง “ช้าง โคลด์ บรูว์” (Chang Cold Brew) ซึ่งได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค หลังจากนั้นจึงตามมาด้วยการสร้างความตื่นเต้นให้ตลาดกับ“ไวรัลแพ็ค” (Viral Pack) หรือ  “ช้าง โคลด์ บรูว์ ขนาด 25 กระป๋อง” ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ขนาดพิเศษที่มีความยาวมากที่สุดเท่าที่ช้างเคยจัดทำขึ้น จนเกิดกระแสการพูดถึงในโลกโซเชียลจำนวนมาก และล่าสุดเรามีการเตรียมวางแผนการสร้างความตื่นเต้นให้ตลาดอีกครั้ง กับบรรจุภัณฑ์ใหม่ล่าสุดที่อยากให้สื่อมวลชน และลูกค้าทุกคนรอติดตามเร็วๆ นี้”

คุณเลสเตอร์ ตัน

คุณเลสเตอร์ ตัน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอลล์ ประเทศไทย (2561-2563) ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเบียร์ (ประเทศไทย) (1 ตุลาคม 2563)เผยว่า “ไทยเบฟดำเนินธุรกิจทั่วภูมิภาคอาเซียน โดยโฟกัสที่ 3 ตลาดหลัก 3 ตลาดใหม่ และ 4 ตลาดการส่งออก เราใช้ผลงานของแบรนด์ผ่านหมวดหมู่สินค้าต่าง ๆ ซึ่งไทยเบฟเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยผลการดำเนินการ 9 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ถือว่าดี หลังจากที่เรามีผลการดำเนินการขาดทุนมาเมื่อสองสามปีที่แล้ว บริษัทกลับมามีผลกำไร โดยมีผลมาจากการลงทุนในแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพ การปรับเปลี่ยนโครงการด้านการเงิน และการสร้างความยั่งยืนของผลกำไร การมองไปข้างหน้านั้นธุรกิจต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์โควิด โดยเปิดช่องทางการขายในรูปแบบสถานที่ การขยายช่องทางการขายไปยังช่องทางดิจิทัล โฟกัสที่ด้านสุขภาพและการเป็นอยู่ที่ดี เรามองเชิงบวกถึงผลการดำเนินงานที่เหลือของปีนี้และหวังว่าผลประกอบการเชิงบวกนี้จะมีผลต่อเนื่องไปถึงปีหน้านี้”

คุณนงนุช บูรณะเศรษฐกุล

คุณนงนุช บูรณะเศรษฐกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจอาหาร (ประเทศไทย) เผยว่า “กลุ่มธุรกิจอาหารยังคงเดินหน้าพัฒนาธุรกิจ ปรับแผนกลยุทธ์เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากวิกฤติโควิด-19 เร่งขยายช่องทางการขายแบบ Takeaway และ Delivery ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว รุกทั้งออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และรูปแบบบริการให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค                อย่างแม่นยำและเข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด แม้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เริ่มสามารถควบคุมได้มากขึ้น แต่ยังคงต้องให้น้ำหนักกับการวางแผนธุรกิจอย่างระมัดระวัง เพื่อรองรับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เร่งการสร้างการเติบโตของธุรกิจจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ที่เติบโตอย่างมากในช่วงที่ผ่านมาและยังคงได้รับความนิยมและมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากลูกค้าที่เริ่มคุ้นชินกับระบบดังกล่าว รวมถึงการออกผลิตภัณฑ์และรูปแบบร้านใหม่ๆ ให้ตรงกับความต้องการที่เปลี่ยนไป สำหรับแผนกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจอาหารในปี 2564 ภายใต้ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีโจทย์ท้าทายควบคู่กับบทบาทของเทคโนโลยี ส่งผลให้การใช้ชีวิตของลูกค้าเปลี่ยนไปอย่างมาก ธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว สร้างศักยภาพ พร้อมที่จะแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ  และพร้อมที่จะขับเคลื่อนภายใต้กลยุทธ์หลักๆ อันได้แก่ 

1.การขยายสาขาในรูปแบบต่าง ๆ ให้เหมาะกับสถานการณ์และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป  2.กลยุทธ์การเติบโตที่มุ่งเน้นการขยายช่องทางการให้บริการหลายรูปแบบ นอกเหนือจากรูปแบบของการนั่งทานที่ร้าน เช่น ช่องทางการจัดส่งถึงบ้าน (Home Delivery), Take home/Pick up, ไดร์ฟทรู และอื่น ๆ  3.การนำเอาดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อสามารถสร้างประสบการณ์ ความสะดวกสบายให้กับลูกค้าได้แบบ Personalization และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับพนักงานมากยิ่งขึ้น 4.Heath & Well-being                มุ่งเน้นพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบรับเทรนด์ผู้บริโภคที่ใส่ใจเรื่อง สุขภาพ-ความปลอดภัย  5.การเสริมสร้างบุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพด้านทักษะ ความชำนาญในการทำงาน เพื่อพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่มีความคล่องตัวสูง”

คุณโฆษิต  สุขสิงห์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจต่อเนื่อง เผยว่า “แนวทางการทำธุรกิจบนหลักคิดเรื่อง “ความยั่งยืน” เป็นสิ่งที่ไทยเบฟยึดปฏิบัติมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจมามากกว่า 44 ปี  โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอด มาเป็นหลักปฎิบัติ โดยเน้นปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การบริหารทรัพยากรธรรมชาติ สังคม ธรรมาภิบาล การพัฒนาบุคลากรองค์กร และวัฒนธรรมองค์กร เพื่อการพัฒนาด้านความยั่งยืน อย่างรอบด้าน

ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ท้าทาย และเป็นบททดสอบการทำงานที่มีประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนของทุกองค์กรจากสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ไทยเบฟมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ดังกล่าว ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน นอกจากนี้กลุ่มไทยเบฟยังได้มอบแอลกอฮอล์ให้กับโรงพยาบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุข 76 จังหวัด ทั่วประเทศไทย และยังได้ผสานความร่วมมือกับพันธมิตรด้านความยั่งยืนด้วยการสนับสนุนเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ กว่า 1 ล้านขวด เพื่อส่งมอบให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ  อสม.ทั่วประเทศ ท่ามกลางวิกฤตินี้เราและ TSCN พันธมิตรได้ทำการสำรวจและพบว่าคู่ค้าให้ความสำคัญกับสุขภาพ ความปลอดภัยและการบริหารจัดการพนักงาน และมองว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพนับเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญหลังวิกฤติการณ์ COVID ทั้งหมดนี้ จึงตอกย้ำถึงแนวคิดการสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต พร้อมการสร้างประโยชน์ต่อสังคมอย่างยั่งยืน สู่กลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงาน สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของการเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก”

ดร.เอกพล ณ สงขลา

ดร.เอกพล ณ สงขลา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้บริหารสูงสุด กลุ่มทรัพยากรบุคคล เผยว่า  “ปี 2563 เป็นบทพิสูจน์ความท้าทายด้านการบริหารงานบุคลากรของกลุ่มไทยเบฟ อันเนื่องมาจากสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ทั้งนี้ พนักงานกลุ่มไทยเบฟในประเทศไทยกว่าหนึ่งหมื่นคนต้องปฏิบัติงานจากที่บ้าน ขณะที่อีกกว่าสามหมื่นคนยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ เพื่อส่งมอบสินค้า บริการ อาหารและเครื่องดื่มแก่ประชาชน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่กลุ่มทรัพยากรบุคคล ต้องร่วมให้ความเอาใจใส่ และช่วยลดความกังวลใจของเพื่อนพนักงาน โดยมีการดำเนินการในด้านต่าง ๆ อาทิ การจัดทำประกันภัยความเสี่ยงจากโรคโควิด-19 ให้แก่พนักงานทุกคน ทุกตำแหน่งงาน การจัดให้มีสายด่วน 24 ชั่วโมง เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำแก่พนักงาน การมอบหน้ากากอนามัย ถุงมือยาง และอุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ สำหรับพนักงานที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงการมอบแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรคแก่พนักงานและครอบครัว นอกจากนี้เรายังได้ขอความร่วมมือให้พนักงานร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งสร้างสรรค์สังคมให้ปลอดภัย ด้วยการลงทะเบียนดิจิทัลทุกวันเพื่อความปลอดภัยแก่พนักงานให้ห่างไกลจากพื้นที่สุ่มเสี่ยง  จากการทำงานร่วมกับพนักงานอย่างต่อเนื่อง  บริษัทมีแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของพนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการ WOW หรือ Ways of Work  และให้ความสำคัญ  จะสื่อสารแบ่งปัน วิกฤติครั้งนี้ทำให้กลุ่มไทยเบฟ ได้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีของพนักงาน และพร้อมที่จะเผชิญความท้าทายอื่น ๆ ในอนาคตได้อย่างมั่นใจ และ “ก้าวแกร่งกว่าเดิม” ซึ่งได้ส่งผลดีต่อการยกระดับความผูกพันของพนักงานมากถึงร้อยละ 85 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศซึ่งมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 66 ทำให้ไทยเบฟได้รับรางวัล HR Asia Best Companies to Work For และรางวัล HR Asia Most Caring Companies 2020 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่องค์กรที่ใส่ใจดูแลพนักงานได้ดีที่สุดในแต่ละประเทศอีกด้วยครับ”                     

Facebook Comments
ติดต่อ Maganetthailand.com
Don`t copy text!