หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19ของแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่สอง
- จำนวนอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน
- การวิเคราะห์เคสที่พบได้ยากจากฐานข้อมูลความปลอดภัยทั่วโลกซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ เดอะ แลนเซท
อัตราของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันผิดปกติที่พบได้ยาก คือภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia syndrome หรือ TTS) ภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่สองนั้น ไม่แตกต่างจากอัตราการเกิดภาวะนี้ในประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีน
ข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ The Lancet วันนี้ แสดงให้เห็นอัตราโดยประมาณของการเกิดภาวะ TTS หลังจากได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19ของแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่สอง พบผู้ที่เกิดภาวะ TTS 2.3 ใน 1,000,000 คน และพบผู้ที่เกิดภาวะTTS 8.1 ใน 1,000,000 คน หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรก1 โดยอัตราการเกิดภาวะTTS หลังการฉีดวัคซีนเข็มที่สองไม่แตกต่างจากอัตราที่พบในประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีน
เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (biopharmaceuticals) กล่าวว่า “วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิผลในการลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 และมีบทบาทสำคัญในการยับยั้งการแพร่ระบาด ถึงแม้จะมีรายงานการเกิดภาวะ TTS หลังจากการฉีดวัคซีนเข็มแรก ผลการวิเคราะห์นี้ได้สนับสนุนการฉีดวัคซีนให้ครบสองเข็มตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา เพื่อช่วยป้องกันโรคโควิด -19 รวมถึงไวรัสสายพันธุ์ต่างๆที่พบมากขึ้น”
การวิเคราะห์นี้ดำเนินการโดยใช้ฐานข้อมูลความปลอดภัยทั่วโลกของแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งรวบรวมอาการไม่พึงประสงค์ทั้งหมดที่ได้รับรายงานจากการใช้ยาและวัคซีนทั่วโลก สำหรับการวิเคราะห์นี้ รายงานเกี่ยวกับภาวะ TTS ทั่วโลกได้รับการรวบรวมจนถึง วันที่ 30 เมษายน 2564 ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 14 วันหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มที่หนึ่งและเข็มที่สอง
ผลการทดสอบนี้สอดคล้องกับรายงานล่าสุดจาก Yellow Card ซึ่งเป็นรายงานรวบรวมและบันทึกข้อมูลด้านความปลอดภัยของหน่วยงานกำกับดูแลยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (MHRA) ในสหราชอาณาจักร ซึ่งแสดงอัตราภาวะการเกิดTTS ในระดับต่ำหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง2
ไม่มีปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุที่ชัดเจนสำหรับภาวะ TTS หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั้งนี้แอสตร้าเซนเนก้ายังคงดำเนินการและสนับสนุนการสอบสวนอย่างต่อเนื่องในการศึกษาหาสาเหตุและกลไกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ทั้งนี้อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้ยากมากเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นได้เมื่อมีการตรวจพบและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม3
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือชื่อ Vaxzevria ในสหภาพยุโรป (เดิมเรียก AZD1222)
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ถูกคิดค้นและพัฒนาร่วมกับโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและบริษัท วัคซีเทค ซึ่งก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้ โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ในกว่า 80 ประเทศ ครอบคลุม 6 ทวีปทั่วโลก ทั้งนี้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ากว่า 800 ล้านโดสได้ถูกส่งมอบให้แก่กว่า 170 ประเทศทั่วโลก รวมถึงกว่า 100 ประเทศผ่านกลไกการจัดซื้อและจัดสรรวัคซีนของโครงการโคแวกซ์ โดยในสหราชอาณาจักร โดยเป็นที่รู้จักกันในชื่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า
วัคซีนป้องกันโควิด-19ของแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนชนิดmRNAแสดงข้อมูลความปลอดภัยที่ดีและคล้ายกันจากการศึกษาในระดับประชากรกว่าหนึ่งล้านคน
อุบัติการณ์ของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่พบได้ยากนั้นต่ำกว่า
ที่พบในผู้ติดเชื้อโควิด–19เป็นอย่างมาก
จากการศึกษาข้อมูลการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่เผยแพร่ในฉบับก่อนตีพิมพ์ในวารสาร เดอะ แลนเซต จากกลุ่มประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคน เพื่อศึกษาอัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันผิดปกติ และภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ(thrombocytopenia syndrome หรือ TTS) หลังการฉีดวัคซีนชนิด mRNA หรือวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า และเปรียบเทียบกับอัตราการเกิดภาวะดังกล่าวในประชากรทั่วไปและในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19
ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนชนิด mRNA มีความคล้ายคลึงกันและแสดงถึงประโยชน์โดยรวม ทั้งนี้ มีการศึกษาการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่พบได้ยากและภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (TTS) กับวัคซีนทั้งสองชนิด ซึ่งสอดคล้องกับอัตราที่คาดว่าจะเกิดภาวะนี้ในประชากรทั่วไป อีกทั้งยังมีอัตราการเกิดภาวะTTS ในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนต่ำกว่าผู้ติดเชื้อโควิด-191 ซึ่งระยะเวลาในการติดตามผลนั้นไม่เพียงพอที่จะรายงานอัตราการเกิดภาวะTTS หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าครบทั้งสองเข็ม แต่ยังคงมีการศึกษาอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าอัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่พบได้ยากนั้นจะต่ำลงหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง2
จากการวิเคราะห์โดยไม่คำนึงถึงชนิดของวัคซีนที่ใช้ พบว่าอัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 นั้นสูงกว่ากลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนมาก โดยอัตราของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำสูงกว่าอัตราที่คาดการณ์ไว้ถึงแปดเท่าหลังจากการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19
เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (biopharmaceuticals) กล่าวว่า “ข้อมูลจากการใช้จริงนี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าว่ามีมากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ และสามารถช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดนี้ได้”
การศึกษานี้วิเคราะห์จากผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิด mRNA จำนวน 945,941 ราย (ในจำนวนนี้มี 778,534 คน ได้รับวัคซีนครบทั้งสองเข็ม) ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าจำนวน 426,272 ราย โดยทำการศึกษาระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2563 ถึง 19 พฤษภาคม 2564 นอกจากนี้ยังศึกษากลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 222,710 ราย ที่ระบุว่าติดเชื้อในระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2563 ถึง 1 มีนาคม 2564 และข้อมูลจากประชากรทั่วไป 4,570,149 คน ณ วันที่ 1 มกราคม 2017 จากฐานข้อมูลสาธารณสุขของแคว้นคาตาโลเนีย ประเทศสเปน
ผลการทดสอบนี้สอดคล้องกับรายงานล่าสุดจาก Yellow Card ซึ่งเป็นรายงานรวบรวมและบันทึกข้อมูลด้านความปลอดภัยของหน่วยงานกำกับดูแลยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (MHRA) ในสหราชอาณาจักร ซึ่งแสดงอัตราภาวะการเกิดTTS ในระดับต่ำหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง2
ไม่มีปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุที่ชัดเจนสำหรับภาวะ TTS หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั้งนี้แอสตร้าเซนเนก้ายังคงดำเนินการและสนับสนุนการสอบสวนอย่างต่อเนื่องในการศึกษาหาสาเหตุและกลไกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ทั้งนี้อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้ยากมากเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นได้เมื่อมีการตรวจพบและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม3
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือชื่อ Vaxzevria ในสหภาพยุโรป (เดิมเรียก AZD1222)
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ถูกคิดค้นและพัฒนาร่วมกับโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและบริษัท วัคซีเทค ซึ่งก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้ โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ในกว่า 80 ประเทศ ครอบคลุม 6 ทวีปทั่วโลก ทั้งนี้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ากว่า 800 ล้านโดสได้ถูกส่งมอบให้แก่กว่า 170 ประเทศทั่วโลก รวมถึงกว่า 100 ประเทศผ่านกลไกการจัดซื้อและจัดสรรวัคซีนของโครงการโคแวกซ์ โดยในสหราชอาณาจักร โดยเป็นที่รู้จักกันในชื่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า